การศึกษาประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ไก่พื้นเมืองภาคใต้
รหัสดีโอไอ
Creator ณปภัช ช่วยชูหนู
Title การศึกษาประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ไก่พื้นเมืองภาคใต้
Contributor ประพจน์ มลิวัลย์, เอื้อมพร เอกขระ, สมคิด ชัยเพชร
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2568
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 42
Journal No. 1
Page no. 94-106
Keyword ไก่แดง, ไก่เบตง, ไก่คอล่อน, น้ำเชื้อ, การผลิตไข่, อัตราการผสมติด
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณ คุณภาพน้ำเชื้อ และอัตราการผสมติดด้วยการผสมเทียม ภายใต้การเลี้ยงในโรงเรือนของไก่แดง เบตง และคอล่อน ซึ่งเป็นไก่พื้นเมืองของภาคใต้ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design: RCBD) โดยใช้พ่อพันธุ์ไก่แดง ไก่เบตง และ ไก่คอล่อน อายุ 8 เดือน สายพันธุ์ละ 6 ตัว รวม 18 ตัว และแม่ไก่พันธุ์ไก่แดง เบตง และคอล่อน อายุ 5 เดือน สายพันธุ์ละ 30 ตัว รวม 90 ตัว สัตว์ทดลองผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ ดังนี้ ไก่แดง จากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี ไก่คอล่อน จากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครศรีธรรมราช และไก่เบตง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทำการรีดน้ำเชื้อ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินคุณภาพน้ำเชื้อ ประกอบด้วย ปริมาณ ความเข้มข้น อัตราอสุจิรอดชีวิต อสุจิรูปร่างปกติ อัตราการไข่ ขนาดฟองไข่ และการทดสอบอัตราการผสมติดโดยการผสมเทียม ใช้น้ำยาเจือจางน้ำเชื้อสูตร IGGKPh ผสมเทียม 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำเชื้อและคุณภาพน้ำเชื้อเฉลี่ยของไก่แดง ไก่เบตง และไก่คอล่อน เฉลี่ยในรอบ 1 ปี ไก่เบตงมีปริมาณน้ำเชื้อเฉลี่ย 0.40±0.13 มล. สูงกว่า (P<0.01) ไก่แดงและไก่คอล่อน ซึ่งมีปริมาณ 0.36±0.12 และ 0.34±0.14 มล. ตามลำดับ แต่ไก่คอล่อนมีความเข้มข้นของอสุจิเฉลี่ย (4,002.70±194.80)x106 เซลล์/มล. สูงกว่า (P<0.05) ไก่แดง และไก่เบตง ซึ่งมีความเข้มข้น (3,875.50±262.80)x106 และ (3,732.20±187.70)x106 เซลล์/มล. ตามลำดับ แต่ไก่เบตงมีจำนวนอสุจิเฉลี่ยต่อการรีด (1,489.20±132.12)x106 เซลล์ สูงกว่า (P<0.05) ไก่คอล่อนและไก่แดง (1,378.30±172.61)x106 และ (1,372.69±137.51)x106 เซลล์ เปอร์เซ็นต์อสุจิรอดชีวิต อสุจิรูปร่างปกติ และการเคลื่อนที่ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) การให้ผลผลิตไข่ของแม่ไก่ในรอบ 1 ปี แม่ไก่คอล่อนมีน้ำหนักฟองไข่เฉลี่ย 46.35±9.05 กรัม/ฟอง สูงกว่า (P<0.01) ไก่แดงและไก่เบตง ซึ่งมีน้ำหนัก 41.52±8.13 และ 45.06±9.33 กรัม/ฟอง ตามลำดับ แม่ไก่เบตงและแม่ไก่คอล่อนมีน้ำหนักตัวในการวางไข่ฟองแรก 1,650.25±190.75 และ 1,680.36±125.53 กรัม/ตัว ตามลำดับ สูงกว่า (P<0.05) แม่ไก่แดง 1,580.50±110.15 กรัม/ตัว อัตราการผสมติดจากการผสมเทียมและประสิทธิภาพการฟักออกของไก่ทั้งสามสายพันธุ์ ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) จากข้อมูลปริมาณและคุณภาพน้ำเชื้อ อัตราการไข่ และอัตราการผสมติด ของไก่พื้นเมืองภาคใต้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเพาะขยายพันธุ์ การวางแผนการผสมพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ และการเก็บรักษาเก็บน้ำเชื้อแบบแช่แข็งเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรม
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ