![]() |
ความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จักรพงษ์ พวงงามชื่น |
Title | ความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ |
Contributor | เบญจรัตน์ นพพันธ์ |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 42 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 69-81 |
Keyword | ข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์, ปัจจัย, ความเป็นไปได้, ความคิดเห็น |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ยังคงใช้สารเคมีอยู่มาก ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์อินทรีย์ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ให้ได้มาตรฐานอินทรีย์ของเกษตรกร จึงเป็นเรื่องจำเป็น การวิจัยนี้จึงพยายามที่จะศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความเป็นไปได้ และปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ของเกษตรกร รวมทั้งความคิดเห็นของบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ของเกษตรกร โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ร่วมกับเทคนิคการสนทนากลุ่มกับเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์จำนวน 181 คน ใน 6 อำเภอ ของจังหวัดนครสวรรค์ และชุดคำถามร่วมกับวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับตัวแทนบริษัทเอกชนผู้ผลิตอาหารสัตว์ ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเหตุผล ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 51.90) เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 56.90 ปี สมรสแล้ว (ร้อยละ 70.70) จบประถมศึกษา (ร้อยละ 54.10) มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือน 179,143.64 บาทต่อปี มีพื้นที่ในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์เฉลี่ย 22.31 ไร่ มีแหล่งเงินทุนคือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ร้อยละ 50.30) เคยฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 53.00) ใช้ที่ดินของตนเองและเช่ามากที่สุด (ร้อยละ 37.60) มีประสบการณ์ปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 13.73 ปี มีทัศนคติ (x ̅=3.20) และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 97.80) ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นต่อการปลูกข้าวโพดอินทรีย์ในระดับเห็นด้วยมาก (x ̅=3.52) และความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์อยู่ในระดับมาก (x ̅=3.93) ในขณะที่พบ 4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ คือ ระดับการศึกษา ทัศนคติ ความคิดเห็น และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ อย่างไรก็ตามเกษตรกรต้องการให้มีการเจาะน้ำบาดาล หาวิธีการป้องกันแมลงศัตรูพืช และการประกันราคารับซื้อที่แน่นอน เพื่อบรรเทาปัญหาความไม่เพียงพอของน้ำ แมลงศัตรูพืช และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น |