การศึกษาการใช้สารเคมีเพื่อยับยังจุลินทรีย์ปนเปื้อนและผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่ออ้อยในระบบเปิด
รหัสดีโอไอ
Creator อารักษ์ ธีรอำพน
Title การศึกษาการใช้สารเคมีเพื่อยับยังจุลินทรีย์ปนเปื้อนและผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่ออ้อยในระบบเปิด
Contributor จิราพร พรมขุนทด, นัฎฐา นิตย์วัฒนกุล, กาญจนา กิระศักดิ์, ภาคภูมิ ถิ่นคำ, โสภณ วงศ์แก้ว
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2568
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 42
Journal No. 1
Page no. 58-68
Keyword อ้อย, สารควบคุมจุลินทรีย์, การเพาะเลี้ยง, เนื้อเยื่อต้นทุนต่ำ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, แบบระบบเปิด
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและความเข้มข้นของสารฆ่าเชื้อต่อการยับยังเชื้อจุลินทรีย์ ในสภาพห้องปฏิบัติการ และเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่ออ้อย โดยในขั้นตอนแรกทำการคัดกรองหาเชื้อจุลินทรีย์ที่พบปนเปื้อนในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS ในสภาพห้องปฏิบัติการระบบเปิด (เดือนพฤศจิกายน 2563) พบเชื้อรา 8 ไอโซเลท ได้แก่ Aspergillus sp., Trichoderma sp., Fusarium sp., Gliocladium sp., Curvularia sp., ยีสต์และอีก 2 ไอโซเลทไม่ทราบชื่อ เนื่องจากไม่สร้างหน่วยขยายพันธุ์ และเชื้อแบคทีเรีย 5 ไอโซเลท ได้แก่ แบคทีเรียแกรมบวก 1 ไอโซเลท แบคทีเรียแกรมลบ 4 ไอโซเลท จากนั้นทดลองหาชนิดของสารฆ่าเชื้อที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ เพื่อควบคุมจุลินทรีย์แต่ละชนิดที่คัดกรองได้จากการปนเปื้อน ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS พบว่า Sodium hypochlorite ความเข้มข้น 0.17, 0.25 และ 0.33 มิลลิลิตร/ลิตร สามารถควบคุมการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี ในการทดลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออ้อยในอาหารสูตร MS ที่ไม่ได้นึ่งฆ่าเชื้อ เติมไคเนติน 1 มิลลิกรัม/ลิตร กรดซิตริก 150 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับสารเคมี Sodium hypochlorite ความเข้มข้น 0.20, 0.25 และ 0.33 มิลลิลิตร/ลิตร พบการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเนื้อเยื่ออ้อยที่ดี และไม่แตกต่างจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบดั้งเดิม
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ