การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราไพราโคสโตรบินเพื่อพัฒนาคุณภาพสีผิวผลของลำไย
รหัสดีโอไอ
Creator จิรนันท์ เสนานาญ
Title การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราไพราโคสโตรบินเพื่อพัฒนาคุณภาพสีผิวผลของลำไย
Contributor สุรีย์วัลย์ เมฆกมล, พาวิน มะโนชัย, วัชรินทร์ จันทวรรณ์
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2568
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 42
Journal No. 1
Page no. 49-57
Keyword ไพราโคลสโตรบิน, ลำไย, สีผิวผล, ดัชนีการเกิดโรค, การวิเคราะห์สารตกค้าง
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การศึกษาผลของการพ่นสารไพราโคลสโตรบินก่อนการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพสีผิวผลลำไยพันธุ์ดอและการเกิดโรค โดยใช้ต้นลำไยอายุ 20 ปี ในสวนของเกษตรกรที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยพ่นสารไพราโคลสโตรบินความเข้มข้น 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อผลลำไยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.0 ซม. (60 วันก่อนเก็บเกี่ยว) วางแผน การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) โดยมี 4 กรรมวิธี ดังนี้ 1) ไม่ใช้สารไพราโคลสโตรบิน (ชุดควบคุม) 2) ใช้สาร 1 ครั้ง 30 วันก่อนเก็บเกี่ยว 3) ใช้สาร 2 ครั้ง 30 และ 45 วันก่อนเก็บเกี่ยว และ 4) ใช้สาร 3 ครั้ง 30, 45 และ 60 วันก่อนเก็บเกี่ยว ผลการศึกษาพบว่ากรรมวิธีที่พ่นสาร 2 และ 3 ครั้ง ทำให้ค่าความสว่าง (L) ของผลลำไยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม แต่ค่าสีแดง (a) และค่าสีเหลือง (b) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกกรรมวิธี การวิเคราะห์สาร ไพราโคลสโตรบินตกค้าง ตรวจพบสารตกค้างในระดับต่ำมาก (0.02-0.05 มก.ต่อกก.) ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน MRLs โดยไม่พบสารตกค้างในชุดควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่ากรรมวิธีที่พ่นสารไพราโคลสโตรบิน 1, 2 และ 3 ครั้ง มีดัชนีการเกิดโรคบนผลลำไย 21.9, 13.7 และ 13.5% ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าชุดควบคุม (37.6%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้สารไพราโคลสโตรบินพ่น 1-3 ครั้ง ก่อนการเก็บเกี่ยวช่วยเพิ่มความสว่างของผลลำไยทำให้สีผิวผลเป็นสีเหลืองทองและลดการเกิดโรคได้โดยมีสารตกค้างไม่เกินมาตรฐาน MRLs
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ