ผลของไคโตซานและไซโตไคนินต่อการเจริญเติบโตกล้วยน้ำว้าพันธุ์กาบขาวที่เพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ
รหัสดีโอไอ
Creator จักรกริช อนันตศรัณย์
Title ผลของไคโตซานและไซโตไคนินต่อการเจริญเติบโตกล้วยน้ำว้าพันธุ์กาบขาวที่เพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ
Contributor วนัชพร นับแสง
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2568
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 42
Journal No. 1
Page no. 38-48
Keyword การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, กล้วยน้ำว้า, ไคโตซาน, ไซโตไคนิน
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract กล้วยน้ำว้าพันธุ์กาบขาวเป็นกล้วยพันธุ์ที่ได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยการปลูกเป็นพืชเชิงเดียวเพื่อการผลิตทางเกษตรและจำหน่าย ส่งผลให้ภาครัฐใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขยายต้นพันธุ์จำนวนมากทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำ การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาการขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าพันธุ์กาบขาวด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ด้วยการใช้สารไคโตซานร่วมกับไซโตไคนิน โดยนำชิ้นส่วนหน่ออ่อนที่ปลอดเชื้อมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ (2 มก.ต่อลิตร) และ/หรือ BA (4 มก.ต่อลิตร) มีหรือไม่มีไคโตซาน 20 มก.ต่อลิตร เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าชิ้นส่วนหน่อที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS + BA (4 มก.ต่อลิตร) มีการเจริญเติบโต ที่ดีกว่าชิ้นส่วนหน่อที่เพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS + TDZ (2 มก.ต่อลิตร) โดยมีแนวโน้มน้ำหนักสด (3.6 กรัม) จำนวน (1.8 ยอดต่อชิ้นส่วน) ความยาวยอด (10.4 ซม.) จำนวนราก (3.5 รากต่อชิ้นส่วน) และความยาวราก (5.9 ซม.) ที่มากกว่า เมื่อเนื้อเยื่อกล้วยเพาะเลี้ยงในอาหาร MS ที่ไม่เติมไซโตไคนินและอาหาร MS + BA (4 มก.ต่อลิตร) + TDZ (2 มก.ต่อลิตร) ไคโตซานจะส่งเสริมการเจริญเติบโต มากขึ้น ขณะเดียวกันไคโตซานจะชะลอการเจริญเติบโต ในอาหาร MS ที่เติม BA (4 มก.ต่อลิตร) หรือ TDZ (2 มก.ต่อลิตร) อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้น การใช้ไคโตซานและ ไซโตไคนินในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยน้ำว้ากาบขาวส่งผลต่อการเจริญเติบโตในหลอดทดลอง ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณของสารควบคุมการเจริญเติบโตและไคโตซาน
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ