แบบจำลองการเกษตรฤดูแล้งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุด กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์
รหัสดีโอไอ
Creator สาธิต เหลืองเจริญลาภ
Title แบบจำลองการเกษตรฤดูแล้งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุด กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์
Contributor อาภาพงศ์ ชั่งจันทร์
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2568
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 42
Journal No. 1
Page no. 239-253
Keyword การเกษตรฤดูแล้ง, แบบจำลองการเกษตร, ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบจำลองการปลูกพืชฤดูแล้งให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สูงที่สุด กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาโครงสร้างสิ่งแวดล้อมต่อการตัดสินใจทำการเกษตรในฤดูแล้ง ดังนี้ 1.1) คัดเลือกโครงสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจทำการเกษตรในฤดูแล้ง 1.2) สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) 2 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับผู้บริหาร (หัวหน้าหน่วยงาน) จำนวน 6 ท่าน กลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐและกลุ่มเกษตรกรที่มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 32 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ประเภทแบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามปลายเปิดและปลายปิดที่ผ่านการวิเคราะห์ความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ (IOC) 0.8 และขั้นตอนที่ 2 สร้างแบบจำลองการตัดสินใจการทำการเกษตรในฤดูแล้ง โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ดังนี้ 2.1) กำหนดเงื่อนไขปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว 2.2) วิเคราะห์แบบจำลองการตัดสินใจการทำการเกษตรในฤดูแล้งโดยการวิเคราะห์การถดถอย เชิงเส้น (Multiple linear regression) โดยมีขั้นตอน ดังนี้ (1) กำหนดให้ปริมาณน้ำต้นทุนในช่วงต้นฤดูแล้ง เป็นตัวแปรต้น และปัจจัยอื่นเป็นตัวแปรตาม และ (2) ลดรูปตัวแปรตาม และยืนยันสมมติฐานที่ได้ให้เป็นค่าคงที่ (3) แบบจำลองการเกษตรฤดูแล้งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงสร้างทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำเกษตรฤดูแล้งของโครงการฯ ประกอบด้วย 8 โครงสร้าง ได้แก่ (1) ปริมาณน้ำต้นทุนในช่วงต้นฤดูแล้ง (2) ระยะห่างจากแปลงเพาะปลูกถึงคลองชลประทาน (การเข้าถึงน้ำชลประทาน) (3) ปฏิทินการทำการเกษตรของโครงการ (4) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (5) นโยบายการประกันรายได้หรือผลผลิตหรือโครงการอื่น ๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน (6) นโยบายสนับสนุนปัจจัยการผลิต (7) นโยบายสนับสนุนสินเชื่อการเกษตร และ (8) มาตรการจ่ายค่าชดเชยความเสียหายจากภัยธรรมชาติ 2) แบบจำลองการเกษตรฤดูแล้งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุด คือ หากช่วงต้นฤดูแล้งมีปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำต่ำกว่า 770.00 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ทำการเกษตรควรประกอบไปด้วย บ่อปลา 1,499 ไร่ บ่อกุ้ง 2,734 ไร่ พืชเมล็ดพันธุ์ 591 ไร่ พืชไร่-พืชผัก 1,379 ไร่ และข้าวนาปรัง 60,697 ไร่ เกิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 1,204.28 ล้านบาท/ฤดูกาล ค่า R2 แสดงความสัมพันธ์ของปริมาณน้ำต้นทุนในช่วงต้นฤดูแล้ง และรายได้สุทธิเท่ากับ 0.9989
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ