ผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและคุณค่าโภชนาการของผักเหลียง (Gnetum gnemon var. Tenerum)
รหัสดีโอไอ
Creator จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์
Title ผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและคุณค่าโภชนาการของผักเหลียง (Gnetum gnemon var. Tenerum)
Contributor ณัชพัฒน์ สุขใส, ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน, อำนาจ รักษาพล, เบญจมาศ ณ ทองแก้ว
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2568
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 42
Journal No. 1
Page no. 15-25
Keyword ผักเหลียง, ปุ๋ยอินทรีย์, การเจริญเติบโต, สารต้านอนุมูลอิสระ
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีประโยชน์ต่อการปลูกพืชผักและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผักเหลียงเป็นผักพื้นบ้านที่นิยมปลูกในจังหวัดชุมพร วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อทดสอบผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและศึกษาคุณค่าโภชนาการของผักเหลียง ในการทดลองได้วางแผนการทดลองแบบ (Completely Randomized Design: CRD) ประกอบด้วย 4 การทดลอง ๆ ละ 10 ซ้ำ ดังนี้ การทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยใดๆ (ชุดควบคุม) การทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์มูลไก่อัดเม็ด อัตรา 300 กรัม/ต้นการทดลองที่ 3 ปุ๋ยมูลไก่อัดเม็ด 150 กรัม/ต้น ร่วมกับปุ๋ยมูลค้างคาวอัดเม็ด 150 กรัม/ต้น การทดลองที่ 4 สารอินทรีย์แบบผง สูตรบำรุงพืช Organic way® อัตรา 0.1 กรัม/ต้น ทดสอบนาน 56 วัน จากผลการทดลองพบว่า ทุกการทดลองทำให้มีความสูงต้น ความกว้าง ทรงพุ่ม จำนวนใบเพสลาด ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ส่วนคุณค่าโภชนาการและสารสำคัญที่พบในผักเหลียงที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ พบว่าการใส่สารอินทรีย์ผง สูตรบำรุงพืช Organic way® ทำให้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด 1,658.34 mmoles TE อย่างไรก็ตาม สิ่งทดลองดังกล่าว ทำให้มีปริมาณพอลีฟีนอลรวมทั้งหมดต่ำที่สุด จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ปุ๋ยอินทรีย์แต่ละชนิดมีผลต่อคุณค่าโภชนาการและ สารสำคัญของผักเหลียง อาจใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารสชาติและคุณค่าทางโภชนาการของผักเหลียง
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ