การพัฒนาผงโรยข้าวจากเศษปลาทะเลเสริมใยอาหารจากแป้งมะพร้าว
รหัสดีโอไอ
Creator พัชณิยา เอกเพชร
Title การพัฒนาผงโรยข้าวจากเศษปลาทะเลเสริมใยอาหารจากแป้งมะพร้าว
Contributor พงศ์พิพัฒน์ มากช่วย, ณภัทร นาคสวัสดิ์, สุทธิพรรณ ชิตินทร, คัมภิราวดี นวกิจไพฑูรย์, จันทร์พร ช่วงโชติ, เตชธรรม สังข์คร, และเซบาสเตียน โอแบร์
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2568
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 42
Journal No. 1
Page no. 182-196
Keyword ผงโรยข้าว, แป้งมะพร้าว, เศษปลาทะเล, ใยอาหาร, สร้างมูลค่าเพิ่ม
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การทำประมงชายฝั่งสามารถจับสัตว์น้ำทะเลท้องถิ่นมาจัดจำหน่ายและส่งออกโดยมีการตัด โดยเฉพาะเศษปลาทะเลมีปริมาณมากทำให้เกิดเป็นขยะอินทรีย์ ในชุมชน การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วัสดุเหลือทิ้งด้วยการแปรรูปอาหารทะเลและวัตถุดิบพื้นถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่ม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตไม่ซับซ้อน และต้นทุนของกระบวนการผลิตไม่สูง จึงเป็นการสร้างรายได้เพิ่มจากธุรกิจเดิมที่มีความเหมาะสม รวมถึงสร้างผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจให้กับผู้บริโภคทั่วไป โดยต้นแบบของผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวหรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ฟูริคาเกะ จะเป็นผงโรยข้าวจากเศษปลาทะเลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งจากการแปรรูปอาหารทะเล และเพิ่มคุณค่าทางอาหารโดยการเสริมแป้งมะพร้าว เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น การวิจัยนี้มีการพัฒนาผงปลากรอบต้นแบบ 4 สูตร โดยใช้เศษปลาทะเลและแป้งมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จากนั้นนำไปสร้างสูตรผงโรยข้าวที่ใช้ผงปลากรอบเป็นส่วนประกอบหลัก การทดสอบทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 9-point hedonic test เพื่อประเมินการยอมรับของผู้บริโภคทั่วไปพบว่า สูตรที่ได้รับการยอมรับสูงที่สุด คือ สูตร (C) ที่มีการปรุงรสและการใช้ส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุด ประกอบด้วย ปลากรอบ หอมแดงทอด กระเทียมทอด พริกแห้งคั่วป่น น้ำตาลทราย ผงปรุงรสไก่ (ร้อยละ) 45.6, 22.2, 11.4, 8.1, 8.1 และ 4.0 ตามลำดับ ได้คะแนนสูงสุดในทุกด้าน ได้แก่ สี (6.8 คะแนน) กลิ่น (6.7 คะแนน) รสชาติ (6.7 คะแนน) เนื้อสัมผัส (6.7 คะแนน) และความชอบโดยรวม (6.8 คะแนน) การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและความแตกต่างของคะแนนในแต่ละปัจจัยทำให้เห็นว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) ระหว่างสูตร (C) และสูตรอื่น ๆ ซึ่งเป็นการยืนยันความสำเร็จในการใช้เศษปลาทะเลและแป้งมะพร้าวเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ