การพัฒนาปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบสี่ไพรเมอร์สำหรับการตรวจสนิปส์ (SNP) ของยีน Thyroglobulin (TG5) ในโคลูกผสมวากิว
รหัสดีโอไอ
Creator มารินา เกตุทัต-คาร์นส์
Title การพัฒนาปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบสี่ไพรเมอร์สำหรับการตรวจสนิปส์ (SNP) ของยีน Thyroglobulin (TG5) ในโคลูกผสมวากิว
Contributor กิตรติ นาคเกตุ, นัทธีวรรณ อุดมศิลป์, สุจิตรา คำผาง
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 1
Page no. 82-90
Keyword ARMS-PCR, โคลูกผสมวากิว, ไขมันแทรก สนิปส์ (SNP), ยีนไทโรกลอบูลิน (TG5)
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract งานวิจัยนี้พัฒนาเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบสี่ไพรเมอร์ Amplification Refractory Mutation System–PCR (ARMS-PCR) เพื่อใช้ในการตรวจหาสนิปส์ (Single nucleotide polymorphism, SNPs) ของยีนไทโรโกลบูลิน (TG5) ที่ตำแหน่งนิวคลีโอไทป์ C422T ซึ่งเป็นยีนที่มีอิทธิพลต่อลักษณะไขมันแทรกในโควากิว ปัจจุบันการตรวจหา SNPs ของยีนจะต้องใช้วิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสร่วมกับการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ (PCR-RFLP) หรือวิธีวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ (DNA sequencing) ซึ่งเป็นวิธีที่มีความจำเพาะสูงมีขั้นตอนที่ซับซ้อนยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูงและใช้ระยะเวลานานเมื่อเปรียบเทียบกับวิธี ARMS-PCR คณะผู้วิจัยจึงได้นำเทคนิค ARMS–PCR มาใช้ในการตรวจ SNPs ของยีน TG5 โดยนำตัวอย่างจีโนมิกส์ดีเอ็นเอที่สกัดจาก ขนหางของโคลูกผสมวากิวมาเป็นดีเอ็นเอต้นแบบ จากผลการทดลองพบว่า ไพรเมอร์ที่ออกแบบมาใช้ในเทคนิค ARMS-PCR สามารถระบุสนิปส์ที่ตำแหน่งนิวคลีโอไทป์ C422T ได้ โดยนำผลผลิต PCR มาแยกตามขนาดด้วยวิธี อิเล็กโทรโฟริซิส สามารถระบุได้ว่าตัวอย่างดีเอ็นเอจาก โควากิวที่ปรากฏแถบดีเอ็นเอสองแถบขนาด 400 bp และ 199 bp มีจีโนไทป์เป็นโฮโมไซกัส T/T และตัวอย่างดีเอ็นเอที่ปรากฏแถบดีเอ็นเอขนาด 400 และ 275 bp มีจีโนไทป์เป็นโฮโมไซกัส C/C ในขณะที่ตัวอย่างดีเอ็นเอที่ปรากฏแถบดีเอ็นเอทั้งสามขนาด 400, 275 และ 199 bp มีจีโนไทป์เป็นเฮเทอไรไซกัส C/T และเมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์สนิปส์ ด้วยเทคนิค ARMS-PCR กับ วิธีมาตรฐาน PCR–RFLP พบว่าให้ผลไม่แตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคนิค ARMS-PCR ที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจสนิปส์ของยีน TG5 ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำไม่แตกต่างจากวิธีมาตรฐาน ทั้งนี้ ARMS-PCR เป็นเทคนิคที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการทำ PCR-RFLP และ DNA sequencing ซึ่งเทคนิค ARMS-PCR สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์สนิปส์ของยีนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพเนื้อโคเพื่อเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรในการปรับปรุงพันธุ์ของโคเนื้อต่อไป
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ