![]() |
จลนพลศาสตร์ของการอบแห้งไพลที่อบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดไกลภายใต้สภาวะสุญญากาศ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เศรษฐวัฒน์ ถนิมกาญจน์ |
Title | จลนพลศาสตร์ของการอบแห้งไพลที่อบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดไกลภายใต้สภาวะสุญญากาศ |
Contributor | ชวกร มุกสาน, ชโลธร ศักดิ์มาศ |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 127-139 |
Keyword | ไพล, รังสีอินฟราเรดไกล, จลนพลศาสตร์ของการอบแห้ง |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | website Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจลนพลศาสตร์ของการอบแห้ง แบบจำลองการอบแห้ง ที่เหมาะสม และคุณภาพสำหรับการอบแห้งเหง้าไพลที่มีความหนา 5 มิลลิเมตร ด้วยรังสีอินฟราเรดไกลความเข้มรังสี 4,929, 6,550, 8,541 และ 10,955 วัตต์/ตารางเมตร ภายใต้สภาวะสุญญากาศที่ระดับ 5 กิโลปาสคาล ที่ความชื้นเริ่มต้น 3.58±0.04 กรัม น้ำ/กรัม วัสดุแห้ง จนความชื้นสุดท้ายเท่ากับ 0.10±0.02 กรัม น้ำ/กรัม วัสดุแห้ง พบว่าใช้เวลาในการอบแห้งเท่ากับ 145, 85, 55 และ 35 นาที กระบวนการอบแห้งที่เกิดขึ้นเป็นช่วงอัตราการอบแห้งลดลงที่ทุก ๆ สภาวะการอบแห้ง จากข้อมูล ผลการทดลองใช้แบบจำลองการอบแห้งจำนวน 5 แบบจำลอง โดยความถูกต้องของแบบจำลองจะพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) พบว่าแบบจำลองการอบแห้ง Midilli et al. (2002) ให้ผลการทำนายการอบแห้งดีที่สุด โดยให้ค่า R2 สูงที่สุด ในขณะที่ให้ค่า RMSE น้อยที่สุด ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นประสิทธิผลมีค่าอยู่ระหว่าง 0.59x10-7 – 2.75x10-7 ตารางเมตร/วินาที และค่าพลังงานที่ใช้ในการกระตุ้นการเคลื่อนที่ของสสาร มีค่าเท่ากับ 17.97 กิโลจูล/โมล คุณภาพของเหง้าไพลแห้งพบว่า ค่าความเป็น สีเหลืองมีแนวโน้มลดลงเมื่อความเข้มรังสีในการอบแห้งเพิ่มขึ้น สำหรับความหนาแน่นมวลรวมและการหดตัว มีค่าอยู่ระหว่าง 0.19-0.31 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร และ 77.57-93.47 เปอร์เซ็นต์ โดยพบว่าเมื่อความเข้มรังสีเพิ่มขึ้นจะมีค่าความหนาแน่นมวลรวม และการหดตัวเพิ่มขึ้น แต่ในการอบแห้งด้วยความเข้มรังสี 4,929 และ 6,550 วัตต์/ตารางเมตร ไม่มีความแตกต่างกัน |