การจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวไทยด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างของยีนซึ่งเกี่ยวข้องกับความทนแล้ง
รหัสดีโอไอ
Creator แสงทอง พงษ์เจริญกิต
Title การจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวไทยด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างของยีนซึ่งเกี่ยวข้องกับความทนแล้ง
Contributor กนกวรรณ จันทร์เพ็ญ, ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์, ยุพเยาว์ คบพิมาย
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 3
Page no. 80-92
Keyword ข้าวไทย, การจัดกลุ่ม, ความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์, ยีนที่เกี่ยวข้องกับความทนแล้ง, ราก
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวไทย ร่วมกับพันธุ์ข้าวที่มีรายงานความทนแล้งจากโครงการ 3,000 Rice Genomes Project ด้วยการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างของยีน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความทนแล้งจำนวน 4 ยีน ได้แก่ ยีน Soil surface rooting 1 (OsSor1) ยีน Deeper rooting 1 (OsDro1) ยีน NAC domain-containing protein 5 (OsNAC5) และยีน NAC domain-containing protein 6 (OsNAC6) ผลการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนทั้ง 4 ยีน จากข้าว 23 พันธุ์ พบลำดับนิวคลีโอไทด์ ที่แตกต่างจำนวน 147 ตำแหน่ง เมื่อนำมาจัดกลุ่มข้าว แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่ม I จำนวน 12 พันธุ์ เป็นกลุ่มอินดิกาและจาโปนิกา ที่การจัดกลุ่มสัมพันธ์กับระบบนิเวศการปลูก ลักษณะรากและความทนแล้ง กลุ่ม II จำนวน 11 พันธุ์ เป็นข้าวอินดิกาที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ข้าวไร่ และข้าวนาสวน ซึ่งไม่พบสัมพันธ์กับระบบนิเวศน์การปลูกอย่างชัดเจน นอกจากนั้นข้าวไทยพันธุ์เจ้าฮ่อ และขาวโป่งไคร้ อยู่กลุ่มเดียวกับข้าวไร่ที่มีลักษณะรากลึกทนแล้ง ซึ่งสามารถคัดเลือกไปใช้ในการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับความทนแล้งต่อไป
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ