ความหลากชนิดและอัตราการเพิ่มพูนของไม้ไผ่ในพื้นที่ป่าชุมชน จังหวัดแพร่
รหัสดีโอไอ
Creator กฤษดา พงษ์การัณยภาส
Title ความหลากชนิดและอัตราการเพิ่มพูนของไม้ไผ่ในพื้นที่ป่าชุมชน จังหวัดแพร่
Contributor แหลมไทย อาษานอก, พิทญาธร อิ่นแก้ว, วรรณอุบล สิงห์อยู่เจริญ
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 3
Page no. 67-79
Keyword ไม้ไผ่, ความหลากชนิด, ป่าชุมชน, จังหวัดแพร่
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของชนิด และอัตราการเพิ่มพูนของไม้ไผ่ ในพื้นที่ป่าชุมชน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โดยทำการคัดเลือกพื้นที่ป่าชุมชน 3 แห่ง เป็นกลุ่มตัวอย่างของป่าชุมชนในอำเภอลอง ได้แก่ ป่าชุมชนบ้านปง ป่าชุมชนบ้านนาสาร และป่าชุมชนบ้านหัวฝาย ทำการวางแปลงตัวอย่างแบบเป็นระบบขนาด 20x20 ตารางเมตร ในพื้นที่ป่าชุมชนละ 25 แปลง รวมทั้งหมด 75 แปลง ทำการเก็บข้อมูล ด้านจำนวนกอไม้ไผ่ นับจำนวนลำ พร้อมทำการสุ่มจำนวน 3 ลำต่อกอ วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง วัดความสูงทั้งหมด ความกว้างของกอ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลค่าดัชนีความหลากของชนิดจากสมการของ Shanon–Wiener Index (H') และนับจำนวนตอไม้ไผ่สดที่ถูกตัด นับจำนวนหน่อไผ่ใหม่จากแปลงตัวอย่างชนิดละ 30 กอ เพื่อคำนวณอัตราการเพิ่มพูนของไม้ไผ่แต่ละชนิดผลการศึกษาพบไม้ไผ่ จำนวน 5 ชนิด 4 สกุล ได้แก่ ไผ่ซางนวล (Dendrocalamus membranaceus) ไผ่ข้าวหลาม (Cephalostachyum pergracile) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata) ไผ่ไล่ลอ (Gigantochloa nigrociliata) และไผ่บงดำ (Bambusa tulda) โดยในป่าชุมชนบ้านปง มี 5 ชนิด บ้านนาสาร มี 5 ชนิด และบ้านหัวฝาย มี 4 ชนิด ซึ่งไม่พบไผ่บงดำ โดยมีค่าดัชนีความหลากชนิด (H') ของไม้ไผ่ในพื้นที่บ้านปง เท่ากับ 1.00 บ้านนาสาร เท่ากับ 1.32 และบ้านหัวฝาย เท่ากับ 1.27 ขนาดของพื้นที่หน้าตัด (ตารางเมตร/เฮกแตร์) บ้านปง เท่ากับ 0.54 บ้านนาสาร เท่ากับ 0.49 และบ้านหัวฝาย เท่ากับ 0.63 และด้านความถี่โดยรวม (ร้อยละ) บ้านปง เท่ากับ 152 บ้านนาสาร เท่ากับ 196 และบ้านหัวฝาย เท่ากับ 212 ตามลำดับ อัตราการเพิ่มพูนของไม้ไผ่ ซางนวลในป่าชุมชนบ้านปงมากที่สุด 758 ลำ/ปี รองลงมา บ้านหัวฝาย จำนวน 608 ลำ/ปี และบ้านนาสาร จำนวน 368 ลำ/ปี ตามลำดับ
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ