ถ่านชีวภาพดัดแปลงเสริมด้วยจุลินทรีย์บำรุงจากฟางข้าวสำหรับการส่งเสริมการเจริญ ของพืชและปรับปรุงดิน
รหัสดีโอไอ
Creator มุจลินทร์ ผลจันทร์
Title ถ่านชีวภาพดัดแปลงเสริมด้วยจุลินทรีย์บำรุงจากฟางข้าวสำหรับการส่งเสริมการเจริญ ของพืชและปรับปรุงดิน
Contributor ทิพปภา พิสิษฐ์กุล, ปิยะนุช เนียมทรัพย์, ศรีกาญจนา คล้ายเรือง, นงคราญ พงค์ตระกุล, สุรศักดิ์ กุยมาลี, จักรพงษ์ ไชยวงศ์
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 3
Page no. 48-66
Keyword ถ่านชีวภาพดัดแปลง, นาข้าว, ฟางข้าว, การปรับปรุงคุณภาพดิน, ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการกำจัดซากวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรด้วยการเผาและคุณภาพดิน ที่เสื่อมโทรม การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในภาคการเกษตรกลายเป็นที่นิยมมากเนื่องจากความสามารถในการเก็บกักและปลดปล่อยธาตุอาหารรวมถึงการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งการใช้งานจริงในพื้นที่กลับพบข้อจำกัดและผลลัพธ์ที่แตกต่างกันรวมถึงความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบของถ่านให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของถ่านชีวภาพดัดแปลงเสริมด้วยจุลินทรีย์บำรุงจากเศษวัสดุเหลือทิ้งจากนาข้าวเพื่อใช้ปรับปรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ในการศึกษาจะทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานถ่านชีวภาพในระดับโรงเรือนสำหรับการปลูกข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ กข 105 โดยจะทำการศึกษาหาสัดส่วนการใส่ถ่านชีวภาพ ที่เหมาะสมที่ความเข้มข้นของถ่านชีวภาพที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 1, 2 และ 3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ซึ่งจะเก็บตัวอย่างดินก่อนและหลังการปลูกเพื่อวิเคราะห์หาคุณภาพทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ และเก็บตัวอย่างพืชเพื่อวัดความสูงของต้น ความยาวของราก น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง จำนวนใบ จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงและเมล็ด และปริมาณคลอโรฟิลล์ และทดสอบการตอบสนองในระดับการแสดงออกของยีนพืชที่ได้รับถ่านชีวภาพดัดแปลง ผลการศึกษาพบว่าการเติมถ่านชีวภาพดัดแปลงที่ 1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ช่วยส่งเสริมให้ข้าวเจริญเติบโตดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ถ่านชีวภาพดัดแปลงสามารถปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้นโดยมีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่สกัด ได้ในดินหลังการปลูกมีค่าสูงขึ้น จากการประเมินการแสดงออกของยีนพบว่าถ่านชีวภาพดัดแปลงสามารถเหนี่ยวนำการแสดงออกของยีน ISR ที่ช่วยเสริมฤทธิ์ ในการกระตุ้น ISR และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ