![]() |
การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมลักษณะคุณภาพทางกายภาพและเคมีของฟักทองพันธุ์พืชมรดกตกทอด “พันธุ์ไข่เน่า” จำนวน 100 สายพันธุ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จานุลักษณ์ ขนบดี |
Title | การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมลักษณะคุณภาพทางกายภาพและเคมีของฟักทองพันธุ์พืชมรดกตกทอด “พันธุ์ไข่เน่า” จำนวน 100 สายพันธุ์ |
Contributor | ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ, ชัยวัฒน์ พงศ์สุขุมาลกุล, พรพนา จินาวงค์ |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 42-51 |
Keyword | ฟักทอง, พันธุ์พืชมรดกตกทอด, ความหลากหลายทางพันธุกรรม |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | เชื้อพันธุกรรมฟักทองพันธุ์พืชมรดกตกทอด “พันธุ์ไข่เน่า” ของจังหวัดน่าน ได้อนุรักษ์ รวบรวม และปลูกบริโภคเพื่อเป็นอาหารของชุมชนมากกว่า 3 ชั่วอายุ โดยมีลักษณะเนื้อหนามีสีเหลืองอมเขียว และเนื้อนึ่งสุกสีเหลืองเขียวคล้ำแบบสีเขียวขี้ม้า รสชาติมันและหวานมากถึงปานกลาง พันธุ์มีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ต้องการข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ที่ได้ผลผลิตและคุณภาพการบริโภคสูง บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่ประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของลักษณะพฤกษเคมีของเชื้อพันธุกรรมฟักทอง “พันธุ์ไข่เน่า” กลุ่มเริ่มต้นรวบรวมจาก จังหวัดน่าน จำนวน 100 สายพันธุ์ ระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง ตุลาคม พ.ศ.2564 และบันทึกข้อมูลลักษณะคุณภาพทางกายภาพและเคมีตามช่วงเวลาที่รวบรวม ร่วมกับกลุ่มที่ปลูกประเมินโดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากกลุ่มเริ่มต้น จำนวน 100 สายพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ระหว่างพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง เมษายน พ.ศ. 2565 การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ (Paired Sample T–test) เชื้อพันธุกรรมฟักทองพันธุ์พืชมรดกตกทอด “พันธุ์ไข่เน่า” ของจังหวัดน่าน ได้อนุรักษ์ รวบรวม และปลูกบริโภคเพื่อเป็นอาหารของชุมชนมากกว่า 3 ชั่วอายุ โดยมีลักษณะเนื้อหนามีสีเหลืองอมเขียว และเนื้อนึ่งสุกสีเหลืองเขียวคล้ำแบบสีเขียวขี้ม้า รสชาติมันและหวานมากถึงปานกลาง พันธุ์มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่ต้องการข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ที่ได้ผลผลิตและคุณภาพการบริโภคสูง บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่ประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของลักษณะพฤกษเคมีของเชื้อพันธุกรรมฟักทอง “พันธุ์ไข่เน่า” กลุ่มเริ่มต้นรวบรวมจาก จังหวัดน่าน จำนวน 100 สายพันธุ์ ระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง ตุลาคม พ.ศ.2564 และบันทึกข้อมูลลักษณะคุณภาพทางกายภาพและเคมีตามช่วงเวลาที่รวบรวม ร่วมกับกลุ่มที่ปลูกประเมินโดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากกลุ่มเริ่มต้น จำนวน 100 สายพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ระหว่างพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง เมษายน พ.ศ. 2565 การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ (Paired Sample T–test) ของกลุ่มเริ่มต้นและกลุ่มประเมิน พบว่า ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งทั้งหมด ที่ละลายได้ของเนื้อนึ่งสุก และ ค่าสี L* ของเนื้อดิบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ลักษณะที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้ของเนื้อดิบและนึ่งสุก ปริมาณของแข็งของกลุ่มเริ่มต้นและประเมินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ร้อยละ 17.0 และ 14.7 ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ของเนื้อดิบและนึ่งสุก เท่ากับ 11.0 และ 10.8 กับ 11.2 และ 11.5 องศาบริกซ์ คุณภาพด้านค่าสี พบว่าเนื้อดิบกลุ่มเริ่มต้นและประเมินมีค่าเฉลี่ยสี L*, a* และ b* เท่ากับ 73.2 และ 74.4; 11.3 และ 11.9 กับ 32.0 และ 29.8 ตามลำดับ ส่วนเนื้อฟักทองนึ่งสุกค่า L*, a* และ b* ลดลง เนื้อมีสีเหลืองอมเขียวทั้งในกลุ่มเริ่มต้นและ กลุ่มประเมิน โดยเนื้อนึ่งสุกของกลุ่มเริ่มต้นและกลุ่มประเมินมีค่าเฉลี่ยสี L*, a* และ b* เท่ากับ 54.5 และ 56.7; 5.8 และ 3.4 กับ 18.1 และ 12.9 ตามลำดับ กลุ่มเริ่มต้นและกลุ่มประเมินมีปริมาณของแข็งทั้งหมดปานกลาง จำนวน 53 และ 75 พันธุ์ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ของเนื้อดิบมีค่าสูงและปานกลาง จำนวน 45 และ 52 พันธุ์ และเนื้อนึ่งสุกมีค่าปานกลาง จำนวน 73 และ 66 พันธุ์ ความแข็งของเนื้อสดของ 2 กลุ่ม มีค่าปานกลาง จำนวน 74 และ 95 พันธุ์ ส่วนเนื้อนึ่งสุกมีค่าต่ำ จำนวน 65 และ 92 พันธุ์ สายพันธุ์ฟักทองพันธุ์ไข่เน่าที่มีสารพฤกษเคมีสูงเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ร่วมกับพันธุ์ที่นิยม ในตลาดปัจจุบัน เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตและคุณภาพในการบริโภคสูง และสร้างตลาดการบริโภคฟักทองที่เพิ่มมูลค่าแตกต่างจากเดิมต่อไป |