การใช้ข้อมูลการรับรู้ระยะไกลเพื่อศึกษาสมบัติบางประการของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็มภาคกลางของประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator ทศนัศว์ รัตนแก้ว
Title การใช้ข้อมูลการรับรู้ระยะไกลเพื่อศึกษาสมบัติบางประการของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็มภาคกลางของประเทศไทย
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 2
Page no. 157-174
Keyword สมบัติดิน, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, ดาวเทียม Sentinel-2, ดัชนีพืชพรรณ
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การศึกษาสมบัติดินแบบดั้งเดิม ได้แก่ การเก็บตัวอย่างดิน และการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ต้องใช้แรงงานและค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้งใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการนาน ข้อมูลรับรู้ระยะไกลซึ่งอาศัยการบันทึกค่าพลังงานสะท้อนกลับที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงคลื่น ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและสุขภาพของพืช การหาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติเคมีดินกับค่าการสะท้อนแสงของพืชที่มีสุขภาพต่างกันในพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่างกันและสร้างเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ เพื่อประมาณค่าความสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งช่วยลดแรงงาน ค่าใช้จ่าย และลดระยะเวลาในการดำเนินงาน การศึกษานี้ได้ศึกษาศักยภาพของข้อมูลภาพดาวเทียม Sentinel 2 โดยการคำนวณค่าดัชนีพืชพรรณ 3 ชนิด ได้แก่ ดัชนี Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) ดัชนี Green Normalized Difference Vegetation Index (GNDVI) และดัชนี Normalized Difference Infrared Index (NDII) แล้วหาความสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ค่าการนำไฟฟ้า และปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินเค็ม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินกรด ผลการศึกษาพบว่า ความอุดมสมบูรณ์ของดินมีความสัมพันธ์กับประเภทการใช้ที่ดินและชุดดิน และมีความสัมพันธ์กับค่าดัชนีพืชพรรณที่คำนวณจากข้อมูลภาพดาวเทียม Sentinel 2โดยค่า NDVI ในเดือนมีนาคม ที่มีความสัมพันธ์แบบ Logarithmic มีศักยภาพสูงที่สุดในการสร้างสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองเพื่อประมาณค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ค่า GNDVI ในเดือนธันวาคม ที่มีความสัมพันธ์แบบ Exponential มีศักยภาพสูงที่สุด ในการสร้างสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองเพื่อประมาณค่าการนำไฟฟ้าของดิน ขณะที่ปริมาณอินทรียวัตถุ ค่าดัชนีพืชพรรณทั้ง 3 ชนิด มีศักยภาพในการสร้างสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองต่ำมาก
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ