![]() |
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมและเสถียรภาพในความหวานและผลผลิตของข้าวโพดหวาน 5 พันธุ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ปราโมทย์ พรสุริยา |
Title | ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมและเสถียรภาพในความหวานและผลผลิตของข้าวโพดหวาน 5 พันธุ์ |
Contributor | จิราพร วิทาโน, สุภาภรณ์ เอี่ยมเข่ง, รุศมา มฤบดี |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 29-41 |
Keyword | AMMI analysis, ไบพล็อท, การทดสอบผลผลิต, Zea mays var. saccharata |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | ปัจจัยทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์ของพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมส่งผลต่อผลผลิตของพืชโดยตรง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อม (GEI) ในลักษณะความหวานและผลผลิตฝักปอกเปลือกของข้าวโพดหวาน 5 พันธุ์ ที่ปลูกใน 4 สภาพแวดล้อม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ Additive main effects and multiplicative interaction (AMMI) ปลูกข้าวโพดหวาน 5 พันธุ์ ในแผนการทดลองสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ ใน 2 ฤดูปลูก แต่ละฤดูปลูกมี 2 สภาพแวดล้อม คือ การปลูกโดยให้ปุ๋ยเคมี และการปลูกโดยให้ปุ๋ยอินทรีย์ ผลจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่าพันธุ์ (G) สภาพแวดล้อม (E) และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์กับสภาพแวดล้อม (GEI) ของทั้ง 2 ลักษณะ ผลจากการวิเคราะห์ AMMI พบว่า 2 องค์ประกอบแรก (IPCA1 และ IPCA2) มีความแปรปรวน 92.1 และ 99.8 เปอร์เซ็นต์ ของความแปรปรวนของ GEI ในลักษณะความหวานและผลผลิตฝักปอกเปลือกตามลำดับ จากคะแนนขององค์ประกอบ (IPCA score) แสดงให้เห็นถึงความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อการแสดงออกของพันธุ์ พบว่าพันธุ์หวานบุรี (G5) เป็นพันธุ์ที่มีความเสถียรมากที่สุดในลักษณะความหวาน เนื่องจากมี AMMI stability value (ASV) น้อยที่สุด และมีค่าความหวานสูง ส่วนในลักษณะผลผลิตฝักปอกเปลือกพบว่า พันธุ์ไฮบริกซ์3 มีความเสถียรมากที่สุดจากการที่มี ASV น้อยที่สุด และให้ผลผลิตฝักปอกเปลือกสูง |