![]() |
การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการสกัดน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดมะม่วงดอง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิชญอร ไหมสุทธิสกุล |
Title | การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการสกัดน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดมะม่วงดอง |
Contributor | วิชมณี ยืนยงพุทธกาล, เสาวนีย์ เอี้ยวสกุลรัตน์ |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 97-109 |
Keyword | น้ำมันเมล็ดมะม่วงดอง, สมบัติทางกายภาพ, สมบัติทางเคมี, การต้านอนุมูลอิสระ, กระบวนการสกัด |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | website Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | เมล็ดมะม่วงดองเป็นของเสียตลอดทั้งปีที่ส่งผลกระทบสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสกัดที่เหมาะสมของน้ำมันเมล็ดมะม่วง (Mangifera indica L.) ดอง (Pickled mango kernel oil, PMKO) โดยใช้วิธีสกัดแบบ Soxhlet (SE) และวิธีสกัดเย็น (CPE) เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ น้ำมันที่สกัดได้ถูกนำมาวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ (อัตราส่วนการสกัด ความหนืด สี จุดหลอมเหลว และดัชนีการหักเหของแสง) และสมบัติทางเคมี (ค่าเปอร์ออกไซด์ ค่ากรด ค่าซาพอนิฟิเคชัน สารที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ ค่าไอโอดีน TBARs รวมถึงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการอักเสบ) ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนการสกัดและความหนืดของ PMKO ที่ได้จากวิธี CPE สูงกว่าของ SE น้ำมันที่สกัดได้จาก CPE มีสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน ค่าเปอร์ออกไซด์ต่ำ (1.93±0.06 meq peroxide/kg oil) ค่ากรดสูงเล็กน้อย (14.44±0.10 mg KOH/g oil) และเป็นของเหลวที่อุณหภูมิ 25°ซ. สมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบจาก PMKO แบบ CPE นั้นดีกว่าแบบ SE กิจกรรมต้านอนุมูลอิสระและ ต้านการอักเสบของ PMKO แบบ CPE เท่ากับ 71.87±1.09% (ยับยั้งที่ 50 mg) และ 81.47±0.98% (ยับยั้งที่ 100 mg) ตามลำดับ จากผลการวิจัยบ่งชี้ว่าเมล็ดมะม่วงดองเป็นแหล่งน้ำมันพืชที่ดี โดยการสกัดเย็นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการได้น้ำมันจากเมล็ดมะม่วงดอง |