![]() |
ผลของวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวต่อการเจริญเติบโต และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในต้นอ่อนฟ้าทะลายโจร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | รัชนี พุทธา |
Title | ผลของวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวต่อการเจริญเติบโต และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในต้นอ่อนฟ้าทะลายโจร |
Contributor | เพ็ญนภา ธานะวิโรจน์, ธันยธรณ์ สุมาจิตร, พร้อมพงษ์ ลาหู่นะ, รัตติกาล เสนน้อย, รัตนจิรา รัตนประเสริฐ |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 14-25 |
Keyword | ชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตร, วัสดุปลูก, ฟ้าทะลายโจร, ไดเทอร์ปีนแลคโตน |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | website Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | ประเทศไทยมีเศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวจำนวนมหาศาล การหาวิธีการใช้ประโยชน์จึงมีความสำคัญ เช่น การนำมาเป็นวัสดุเพาะต้นอ่อนฟ้าทะลายโจร เพื่อให้ได้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์สูง และใช้เวลาการผลิตสั้นกว่าการปลูกปกติ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวต่อการเจริญเติบโต และปริมาณสารแอนโดร กราโฟไลด์ในต้นอ่อนฟ้าทะลายโจร วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จํานวน 4 ซ้ำ วัสดุเพาะ 3 สูตร ได้แก่ 1) พีทมอส 2) พีทมอส : วัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล (50:50) และ 3) พีทมอส: วัสดุเพาะจากเศษเหลือ ชีวมวล (75:25) โดยวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล คือวัสดุเพาะผสมจากใบอ้อย: ฟางข้าว: รําข้าว: น้ำ (1:5:3:1) พบว่าต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรที่เพาะในวัสดุเพาะพีทมอสผสมวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล (50:50) มีความยาวลำต้น (7.25 ซม.) และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ (3.180 มก./กรัมตัวอย่าง) สูงที่สุด รองลงมาคือ ต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรที่เพาะในวัสดุเพาะผสมพีทมอส : วัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล (25:75) มีความยาวลำต้น 6.20 ซม. และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 2.733 มก./กรัมตัวอย่าง และต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรที่เพาะในพีทมอส ทำให้น้ำหนักสดต้นและรากมากที่สุด มีค่า 29.98 และ 17.28 มก./ต้น ตามลำดับ จากการทดลองนี้สรุปได้ว่าการใช้เศษเหลือชีวมวลจากอ้อยและข้าวช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในต้นอ่อนฟ้าทะลายโจร และวัสดุเพาะจากพีทมอสผสมวัสดุเพาะจากเศษเหลือชีวมวล อัตราส่วน 50:50 โดยปริมาตร มีศักยภาพในการเพาะต้นอ่อนฟ้าทะลายโจรให้มีปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์สูงได้ |