ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
รหัสดีโอไอ
Creator พุฒิสรรค์ เครือคำ
Title ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
Contributor กิตติพงศ์ บุญธิ, นคเรศ รังควัต, สายสกุล ฟองมูล
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 1
Page no. 162-172
Keyword การผลิตชา, ระบบการเพาะปลูกที่ดี, มูลนิธิโครงการหลวง, ส่งเสริมการเกษตร
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ศึกษาการปฏิบัติในการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตชาในระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายจำนวน 153 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์พหุถดถอย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53 ปี จบการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษา มีสถานภาพสมรส มีรายได้จากการปลูกชาเฉลี่ย 49,740.79 บาทต่อปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน และมีจำนวนหนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 67,486.84 บาท ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับระบบการเพาะปลูกที่ดีเฉลี่ย 4 ครั้ง ต่อเดือน มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี มีการติดต่อกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชาโดยเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี มีการเข้าร่วมการอบรมระบบมาตรฐานการเพาะปลูกที่ดีเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีประสบการณ์การปลูกชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีเฉลี่ย 7 ปี มีความรู้และมีการปฏิบัติในการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทางบวก ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ตำแหน่งทางสังคม และความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการผลิตชาในระบบการเพาะปลูกที่ดี ส่วนปัจจัยทางลบ ได้แก่ จำนวนแรงงานในครัวเรือน สำหรับปัญหาในการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกรพบว่า เกิดข้อจำกัดในการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชและวัชพืชในแปลงปลูกชา เช่น สารเคมีที่สามารถใช้ได้ตามข้อกำหนดมีราคาแพง ลานที่ใช้ในการตากชามีไม่เพียงพอ และขาดแรงงานที่มีทักษะในการแปรรูปชา รวมทั้งยังขาดความต่อเนื่องในการรับซื้อผลผลิตชาของตลาดต่าง ๆ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เสนอแนะว่า ควรมีการสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการตลาด และการพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งรับซื้อผลผลิตชาที่มีความหลากหลาย ตลอดจนควรมีการกำหนดราคาชาล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรกรมีแรงจูงใจในการจัดการกระบวนการผลิตชาภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีให้เป็นไปตามมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ