ความผิดปกติของดอกเพศเมียที่มีการบานในฤดูและก่อนฤดูของลำไยพันธุ์อีดอและพวงทอง
รหัสดีโอไอ
Creator วินัย วิริยะอลงกรณ์
Title ความผิดปกติของดอกเพศเมียที่มีการบานในฤดูและก่อนฤดูของลำไยพันธุ์อีดอและพวงทอง
Contributor วัชรินทร์ จันทวรรณ์
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 1
Page no. 1-12
Keyword โพแทสเซียมคลอเรต, ยอดเกสรเพศเมีย, ก้านชูเกสรเพศเมีย, อุณหภูมิ
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract ลำไยเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้โพแทสเซียมคลอเรตสำหรับชักนำการออกดอกทั้งในและนอกฤดู ลำไยนอกฤดูช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงขึ้น เนื่องจากมีความผันผวนของราคาน้อยกว่าลำไยในฤดู อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา พบว่า การผลิตนอกฤดูในช่วงก่อนฤดูในภาคเหนือ มักได้ผลผลิตต่ำกว่าลำไยในฤดู ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีการพัฒนาที่ผิดปรกติของดอกที่ออกก่อนฤดูและบานในช่วงอุณหภูมิต่ำสุดของฤดูหนาว ส่งผลให้ให้ติดผลน้อยลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติที่อาจเกิดกับดอกลำไยก่อนฤดู เปรียบเทียบกับดอกลำไยในฤดูของลำไยพันธุ์อีดอและพันธุ์พวงทอง ดำเนินการศึกษา ในแปลงลำไยของสาขาไม้ผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ให้โพแทสเซียมคลอเรตเพื่อชักนำการออกดอกก่อนฤดูเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563 และในฤดูเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ผลการศึกษาพบว่าการออกดอกของพันธุ์พวงทอง (ในฤดู) มีค่าน้อยที่สุดเพียง 51 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์พวงทอง (ก่อนฤดู) พันธุ์อีดอทั้งในและนอกฤดูมีการออกดอกถึง 84-97 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะของช่อดอก ช่อดอกล้วนและช่อดอกปนใบ ขนาดของช่อดอก ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพันธุ์อีดอ (ก่อนฤดู) มีความกว้างและความยาวของช่อดอกมากกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง และพันธุ์อีดอ (ในฤดู) มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกเพศเมียกว้างมากที่สุด 6.07 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียกว้างมากที่สุด คือ 2.60 มิลลิเมตร และความยาวของก้านชูเกสรเพศเมีย 5.60 มิลลิเมตร อย่างไรก็ตามพันธุ์พวงทอง (ก่อนฤดู) และพันธุ์อีดอ (ก่อนฤดู) ก้านเกสรเพศเมียมีลักษณะสั้นและงอ โดยเฉพาะพันธุ์อีดอมีความกว้างยอดเกสรเพศเมียน้อยมากคือ 1.08 มิลลิเมตร และพันธุ์พวงทองเท่ากับ 1.10 มิลลิเมตร ขณะที่สัดส่วนเพศดอกระหว่างเพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 1 : 5.39-15.68 นอกจากนี้ยังพบว่าการออกดอกในฤดูของลำไยทั้งสองสายพันธุ์มีเปอร์เซ็นต์การติดผลมากกว่าการออกดอก ก่อนฤดู พิจารณาถึงระยะเวลาการให้โพแทสเซียมคลอเรต ต่อการออกดอกโดยเฉพาะก่อนฤดูหนาว ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออาการผิดปกติของเกสรเพศเมีย และมีผลต่อการติดผลได้
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ