ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับการบริหารงานบุคคล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1
รหัสดีโอไอ
Creator สายสุณีย์ ตะเภาทอง
Title ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับการบริหารงานบุคคล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1
Contributor กฤษฎิ์ กิตติฐานัส
Publisher ชมรมวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ
Publication Year 2567
Journal Title วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
Journal Vol. 6
Journal No. 3
Page no. 346-362
Keyword แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู, การบริหารงานบุคคล, สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
URL Website https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm
ISSN 2774-1036
Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียน2)เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน และ 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูของบาร์นาร์ด และทฤษฎีการบริหารงานบุคคลของมอนดี้เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูของโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 369 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ และใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำแนกตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ตอน คือ1)แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2)แบบสอบถามเกี่ยวกับการแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 3)แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1.แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความดึงดูดใจทางสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างกว้างขวาง ส่วนด้านสิ่งจูงใจที่เป็นวัตถุ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2.การบริหารงานบุคคลของโรงเรียน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ ส่วนด้านประเมินผลการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3.แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์ทิศทางบวกในระดับสูงกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น .858 องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการนำผลการวิจัยเรื่องแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและปรับใช้ในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน
ชมรมวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ