![]() |
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางนาฏศิลป์ของนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กนิษฐา สังขรัตน์ |
Title | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางนาฏศิลป์ของนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา |
Publisher | ชมรมวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 145-158 |
Keyword | รูปแบบการจัดการเรียนรู้, นาฏศิลป์ไทย, สมรรถนะ, นักศึกษาสาขานาฏศิลป์ศึกษา |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm |
ISSN | 2774-1036 |
Abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางนาฏศิลป์2)เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางนาฏศิลป์ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Selection)เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะทางนาฏศิลป์ไทยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คนผลการวิจัยพบว่า 1)รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางนาฏศิลป์ของนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1.หลักการ 2.วัตถุประสงค์ 3.กระบวนการโดยกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยสมรรถนะทางนาฏศิลป์ของนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษาดังนี้ สมรรถนะทางนาฏศิลป์แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1.สมรรถนะด้านความรู้ ประกอบด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์และความเชี่ยวชาญด้านการสอน 2.สมรรถนะด้านทักษะ ประกอบด้วย มีความคิดสร้างสรรค์การประยุกต์ใช้และแก้ปัญหา ทักษะการถ่ายทอดและวิธีการสื่อสาร3.สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลประกอบด้วยการจัดการตนเองและการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ4.วัดประเมินผล2)ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางนาฏศิลป์ผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับมากที่สุดพบว่าโดยภาพรวมของความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางนาฏศิลป์ของนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา เท่ากับ 5.00ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์และแนวทางในการนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา |