![]() |
สมการพยากรณ์การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สุชีวัน อยู่คง |
Title | สมการพยากรณ์การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ |
Contributor | สมใจ สืบเสาะ |
Publisher | ชมรมวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 115-129 |
Keyword | สมการพยากรณ์, การมีส่วนร่วมของบุคลากร, การประกันคุณภาพการศึกษา |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm |
ISSN | 2774-1036 |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์2)เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา3)เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาและ4)เพื่อนำเสนอสมการพยากรณ์การมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพในสถานศึกษาการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างจำนวน 286 คนโดยวิธีกําหนดขนาดของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ1)แบบสัมภาษณ์ และ 2) แบบสอบถาม สถิติที่วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับปัจจัยการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2.ระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3.ปัจจัยและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.ปัจจัยการมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.622 พยากรณ์การมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาร้อยละ 38.70 สร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์รูปแบบคะแนนดิบ Y ̂ = .339 + .203(X1) - .149(X2) + .776(X3) สมการพยากรณ์รูปแบบคะแนนมาตรฐาน Z ̂ = .385(Z1) - .135(Z2) + .640(Z3) องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ นำไปวางแผนพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานประกันคุณภาพการศีกษาของสถานศึกษา ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |