![]() |
การออกแบบของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ปอยหลวง บุญเจริญ |
Title | การออกแบบของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา |
Contributor | ณัฏฐริกา กงสะกุ |
Publisher | คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 46-57 |
Keyword | ของที่ระลึก, บรรจุภัณฑ์, หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน, ส่งเสริมการท่องเที่ยว, อัตลักษณ์ชุมชน |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17365 |
Website title | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17365 |
ISSN | ISSN 2630-0478 |
Abstract | การออกแบบของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมทางการท่องเที่ยวของหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมาและเพื่อพัฒนาของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา โดยผู้วิจัยได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยจากแหล่งข้อมูลทางเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ และจากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์สรุป เปรียบเทียบและจัดลำดับความสำคัญ ของข้อมูลในเชิงลึก เพื่อหาแนวทางในการออกแบบ ประเมินผล สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของชุมชนที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นของที่ระลึกได้ประกอบด้วย อัตลักษณ์จากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติบริเวณ ริมลำน้ำมูล เรียกว่า “กุด” อัตลักษณ์ที่พบจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นประกอบด้วย ซุ้มประตูแจกันคู่ ซุ้มประตูชุมชน และเตาหลอมใจ รวมถึงอัตลักษณ์ทางวิถีชีวิตและภูมิปัญญาได้แก่ ลักษณะวิถีชีวิต เครื่องนุ่มห่ม และท่าทางของช่างในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ด่านเกวียน ควบคู่ไปกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ผลจากการสำรวจความต้องการสินค้าของที่ระลึกเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนของนักท่องเที่ยว 5 ลำดับแรก ประกอบด้วย กระถางต้นไม้ แม่เหล็กติดตู้เย็น จี้เครื่องประดับ จานรองแก้ว และกระเป๋าผ้า ซึ่งผู้วิจัยได้นำไปออกแบบและพัฒนาเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบประเมินความคิดเห็นพบว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.14 ความคิดเห็นต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.22 และมีผลการประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จำนวน 30 คน ที่มีต่อรูปแบบของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่พึงพอใจต่อของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.35 |