![]() |
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ณัฐพงค์ พรเดชเดชะ |
Title | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร |
Contributor | สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์ |
Publisher | คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 22-35 |
Keyword | ส่วนประสมทางการตลาด, ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค, ความตั้งใจใช้บริการซ้ำ, ร้านอาหารญี่ปุ่น |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17365 |
Website title | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17365 |
ISSN | ISSN 2630-0478 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ(1)เพื่อศึกษาความแตกต่างของความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน (2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค (7Cs) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานครตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิตเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : SD) และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะที่มีด้านอาชีพที่แตกต่างกัน จะมีค่าเฉลี่ยความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นอิซากายะในกรุงเทพมหานคร ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นอิซากายะในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า มี 1 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ และยังพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค (7Cs) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นอิซากายะในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า มี 5 ด้าน โดยเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ ด้านคุณค่าที่ลูกค้าได้รับ ด้านการดูแลเอาใจใส่ของพนักงาน ด้านต้นทุน ด้านความสะดวก และด้านการตอบสนองความต้องการ ซึ่งผู้ประกอบการร้านอาหารญี่ปุ่ประเภทอิซากายะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปใช้ในการแบ่งกลุ่มการตลาด หรือนำไปปรับปรุงต่อยอดปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดเพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการ ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะต่อไป |