![]() |
ปัจจัยการรับรู้และการจัดการความเสี่ยงที่มีผลต่อการซื้ออาหารผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กิจติวัฒน์ รัตนมณี |
Title | ปัจจัยการรับรู้และการจัดการความเสี่ยงที่มีผลต่อการซื้ออาหารผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 |
Contributor | กฤชคุณ ผาณิตญาณกร |
Publisher | คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 171-179 |
Keyword | การรับรู้ความเสี่ยง, การจัดการความเสี่ยง, การซื้ออาหารผ่านช่องทางออนไลน์, โควิด-19 |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17257 |
Website title | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17257 |
ISSN | ISSN 2630-0478 |
Abstract | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาพฤติกรรมการซื้ออาหารออนไลน์ 2)ศึกษาถึงระดับของปัจจัยการรับรู้และการจัดการความเสี่ยงและ 3)ศึกษาถึงปัจจัยการรับรู้และการจัดการความเสี่ยงที่มีผลต่อการซื้ออาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด-19โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนที่เป็นผู้บริโภคที่เคยซื้ออาหารผ่านช่องทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้นโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นแบบเจาะจงและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ยและร้อยละและสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ซึ่งผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคซื้ออาหารผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19และมักจะซื้ออาหารประเภทเดิมจากร้านค้าเดิมโดยผู้บริโภคในภาพรวมมีระดับการรับรู้และการจัดการความเสี่ยงจากการซื้ออาหารออนไลน์อยู่ในระดับสูงซึ่งการรับรู้ความเสี่ยงทางด้านร่างกายเป็นความเสี่ยงที่ผู้บริโภคตระหนักถึงมากที่สุดทั้งนี้ผลจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่าอายุมีผลต่อความถี่ในการซื้ออาหารออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยผู้บริโภคที่มีอายุเยอะจะมีความถี่ในการซื้ออาหารออนไลน์น้อยกว่าผู้บริโภคที่มีอายุน้อยกว่าแต่การรับรู้และการจัดการความเสี่ยงไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการซื้ออาหารออนไลน์ของผู้บริโภคเนื่องจากผู้บริโภคจัดการความเสี่ยงโดยการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อลดระดับของการรับรู้ความเสี่ยงจากการซื้ออาหารผ่านช่องทางออนไลน์ |