ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน ศึกษากรณี พื้นที่ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
รหัสดีโอไอ
Creator สิรินดา กมลเขต
Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน ศึกษากรณี พื้นที่ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
Contributor พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม, จริยา อินทนิล, อาริยา ป้องศิริ, ปาริชา มารี เคน, โสภณ มูลหา, อธิพงษ์ ภูมีแสง, พรพิมล พิมพ์แก้ว
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Journal Vol. 13
Journal No. 1
Page no. 171-186
Keyword เศรษฐกิจฐานราก, ศักยภาพชุมชน, การบูรณาการเรียนการสอน, นวัตกรรมเศรษฐกิจฐานราก
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 3027-8589 (Online) 
Abstract การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน บ้านนาเหนือ หมู่ที่ 14 ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 296 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1  ได้แก่ ค่าความถี่  และค่าร้อยละ  ตอนที่ 2  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการศึกษา มีผู้ตอบแบบสอบถาม 116 คน คิดเป็นร้อยละ 39.18 ทุน 5 มิติ ด้านทุนมนุษย์  พบว่า ทักษะที่สร้างรายได้ มีผู้ไม่ตอบมากที่สุด 87 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 ด้านทุนกายภาพ พบว่า ทุกคนมีบ้านของตัวเอง ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใช้น้ำประปาของทางเทศบาลเป็นผู้จัดหาให้ ไม่มีปัญหากับพื้นที่ทำกิน จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านทุนการเงิน  พบว่า รายจ่ายครัวเรือนจะจ่ายเพื่อการบริโภค จ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านทุนทรัพยากรธรรมชาติ  พบว่า ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการยังชีพ จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 93.10  และด้านทุนทางสังคม พบว่า ชุมชนมีกติกาหรือกฎระเบียบที่ใช้ร่วมกันในชุมชน, ชุมชนมีการจัดการปัญหาความขัดแย้งของชุมชน จำนวน 116 คน  คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนภาพรวมปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน อยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 59.04  (X) =2.91 S.D= 0.75)  และปัจจัยภายใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 62.18 (X) =3.09 S.D= 0.77)
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ