ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเขตกรุงเทพมหานคร
รหัสดีโอไอ
Creator ธรรมศักดิ์ โชคชัยเจริญพร
Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเขตกรุงเทพมหานคร
Contributor สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Journal Vol. 13
Journal No. 1
Page no. 149-170
Keyword ข้าราชการพลเรือน, แรงจูงใจ, การตัดสินใจ
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 3027-8589 (Online) 
Abstract งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีมีสัดส่วนในการเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญน้อยกว่าที่ควร โดยการศึกษาวิจัย มุ่งเน้นการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและค้นหาแนวทางการสร้างประสิทธิภาพเพื่อการเสริมหนุนต่อการเลือกเข้ารับราชการพลเรือนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หรือที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้ายของแต่ละหลักสูตรในระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยการสำรวจเชิงปริมาณ ผ่านแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 836 คน และเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ จำนวน 30 คน จากผู้แทนนักศึกษาสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความแตกต่างทางเพศมิได้ส่งผลต่อการเลือกสมัครเข้ารับราชการพลเรือนเมื่อสำเร็จการศึกษา 2) ค่าตอบแทนเป็นปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อการเลือกสมัครเข้ารับราชการของนักศึกษาสำเร็จการศึกษาใหม่ในระดับสูงสุด 3) ปัจจัยจากความสนใจเฉพาะด้านของตัวนักศึกษาคือแรงขับภายในที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญ 4) ปัจจัยด้านวิถีชีวิต และวัฒนธรรมการทำงานเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนในระดับรองลงมา 5) ภาครัฐควรเสริมประสิทธิภาพนโยบายการสรรหาบุคคล โดยคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของแต่ละช่วงวัยเป็นหลัก เพื่อให้ตอบสนองได้ตรงจุด และสามารถดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ภาครัฐ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเชิงนโยบาย คือ ภาครัฐควรเน้นการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับค่าครองชีพ จัดให้มีสวัสดิการใหม่ ๆ หรือสวัสดิการทางเลือกที่คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งาน และยังคงให้ความสำคัญกับความมั่นคงในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ