ปัจจัยที่มีผลต่อกระแสความนิยมของพรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566 : กรณีศึกษาเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4
รหัสดีโอไอ
Creator ศราวุฒิ วรรณโสภา
Title ปัจจัยที่มีผลต่อกระแสความนิยมของพรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566 : กรณีศึกษาเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4
Contributor ฐิติมาพร อินทร์โสม, ชลธิชา มณีรัตน์, สุธิดา จูมครอง, ประเทือง ม่วงอ่อน
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Journal Vol. 13
Journal No. 2
Page no. 269-291
Keyword พรรคก้าวไกล, จังหวัดอุบลราชธานี, ความนิยม
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 3027-8589 (Online) 
Abstract การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระแสความนิยมของพรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566 : กรณีศึกษาเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 ของพรรคก้าวไกล ได้รับความนิยมในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (2) ศึกษามุมมองของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีต่อด้านนโยบายของพรรคก้าวไกล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากสื่อโชเชียลมีเดีย การสัมภาษณ์และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา ค้นพบว่า (1) กระแสความนิยมของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ (1.1) ปัจจัยด้านกระแสความนิยมที่มาจากพรรค กระแสพรรคเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ช่วยหนุนเสริมทำให้ผู้สมัครพรรคก้าวไกลได้รับความนิยมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566 กระแสพรรครวมถึงกระแสความนิยมในตัวหัวหน้าพรรคก้าวไกล คือ คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กระแสความนิยมจากแนวนโยบายของพรรค และภาพลักษณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับพรรคก้าวไกล (1.2) ปัจจัยด้านตัวบุคคลผู้สมัคร กระแสความนิยมที่เกิดขึ้นจากตัวผู้สมัคร โดยผู้สมัครจะต้องแสดงบทบาท ทำกิจกรรม ลงพื้นที่ให้ประชาชนรับรู้อย่างต่อเนื่องด้วย จึงจะทำให้ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลบุคคลนั้นมีโอกาสชนะการเลือกตั้ง (1.3) ปัจจัยด้านความต้องการของประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ชนะการเลือกตั้งมาหลายสมัย (1.4) ปัจจัยด้านกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม ความสิ้นหวังกับระบบการเมืองและสังคมแบบเดิมๆ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นต้น (2) มุมมองของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 ที่มีต่อด้านนโยบายของพรรคก้าวไกล จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ประชาชนมีความหวังในตัวนโยบายของพรรคก้าวไกล และมองว่านโยบายที่นำเสนอจะสามารถแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้ ข้อเสนอแนะ กระแสพรรคเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้ผู้สมัครพรรคก้าวไกลได้รับความนิยม แต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้สมัครคนนั้นได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ตัวผู้สมัครจะต้องลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน โฆษณาประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ เพื่อให้เกิดความนิยมในตัวผู้สมัครเองด้วย แล้วอาศัยกระแสพรรคเป็นตัวหนุนเสริม สนับสนุน เพื่อต่อสู้กับกระแสการใช้เงินซื้อเสียง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สังคมชนบท หรือเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ