![]() |
การวิเคราะห์ปัญหาและเปรียบเทียบข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขัน ทางการค้าตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วัชระ ภูกันดาร |
Title | การวิเคราะห์ปัญหาและเปรียบเทียบข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขัน ทางการค้าตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 |
Contributor | สาธิตา วิมลคุณารักษ์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 91-106 |
Keyword | การแข่งขัน, กฎหมายแข่งขันทางการค้า, การบังคับใช้กฎหมาย |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 3027-8589 (Online) |
Abstract | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมา ปัญหาข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 เปรียบเทียบกับต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อเป็นการส่งเสริมเรื่องการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม พบว่า (1) ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าของแต่ละประเทศ ใช้กับการกระทำของหน่วยงานหรือหน่วยธุรกิจใดนั้น ย่อมเป็นไปตามบริบทของสังคม วัฒนธรรมทางการค้า รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ การมีบทบัญญัติในลักษณะนี้ ก็เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมบางอย่างสามารถดำเนินการได้ตามนโยบายภาครัฐ ป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบ จากผู้ประกอบการที่มีที่ความสามารถในการแข่งขันมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่น และยังเป็นการส่งเสริมการแข่งขัน ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย (2) ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า ไม่มีมาตรการแนวทางหรือหลักเกณฑ์รองรับที่เหมาะสม ทั้งขาดความเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายอาจก่อให้เกิดปัญหาอันนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายอย่างไร้ประสิทธิภาพ ทำให้การรักษาและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ไม่สามารถบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ (3) ข้อยกเว้นกฎหมายแข่งขันของประเทศไทยและของต่างประเทศ แม้มีความแตกต่างกันในรายละเอียดตามบริบทของสังคม วัฒนธรรมทางการค้า รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจ แต่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมเช่นเดียวกัน โดยประเทศไทยสามารถนำข้อกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ มาศึกษาและปรับใช้ให้เหมาะสม อันนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดแก่สาธารณะชน (4) ข้อยกเว้นกฎหมายแข่งขันของประเทศไทย ต้องมีการวางหลักเกณฑ์การปฏิบัติให้ชัดเจนและเหมาะสม จากหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการแข่งขันทางการค้าเป็นการเฉพาะ อย่างแท้จริง และปรับตัวบทกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน |