![]() |
ผลกระทบของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว ต่อผู้ประกอบการการค้า ณ ด่านชายแดนช่องเม็ก และนักธุรกิจ ผู้ส่งออก-นำเข้าในจังหวัดอุบลราชธานี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศิริสุดา แสนอิว |
Title | ผลกระทบของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว ต่อผู้ประกอบการการค้า ณ ด่านชายแดนช่องเม็ก และนักธุรกิจ ผู้ส่งออก-นำเข้าในจังหวัดอุบลราชธานี |
Contributor | ปิยะมาศ ทัพมงคล, เพียงกมล มานะรัตน์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 22-41 |
Keyword | โควิด-19, การค้าชายแดนไทย-ลาว, ด่านช่องเม็ก, อุบลราชธานี |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 3027-8589 (Online) |
Abstract | บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การค้าชายแดนไทย-ลาว ณ ด่านชายแดนช่องเม็ก ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2565 และ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว ต่อผู้ประกอบการการค้า ณ ด่านชายแดนช่องเม็ก และนักธุรกิจผู้ส่งออก-นำเข้าในจังหวัดอุบลราชธานี จากการศึกษาสถานการณ์ดังกล่าวพบว่า การออกคำสั่งปิดด่านชายแดนเป็นการชั่วคราวของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยในตลาดชายแดนช่องเม็ก อาทิ การขาดรายได้ ร้านค้าชายแดนบางส่วนต้องปิดตัว ประมาณ 1-3 ปี ในขณะที่ ผู้ประกอบการการนำเข้า-ส่งออกผ่านด่านชายแดนช่องเม็กที่ทำการส่งสินค้าข้ามแดนไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากมาตรการฯ ของไทยมิได้ห้ามการเคลื่อนย้ายสินค้า แต่เป็นการห้ามการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ ทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าโดยใช้รถบรรทุกไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการทางกฎหมายของไทย อย่างไรก็ตาม ผลกระทบหลังยกเลิกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าระหว่างไทย-ลาว ณ ด่านช่องเม็ก หลายประการ อาทิ รูปแบบการค้าและพฤติกรรมของการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเป็นการซื้อขายออนไลน์ ทั้งสินค้าจากไทยและจากจีน ทำให้ลูกค้าจากฝั่งลาวไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาซื้อสินค้าในประเทศ และปัจจุบันกลุ่มลูกค้าหลักของตลาดชายแดนช่องเม็กกลายเป็นคนไทยในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นหลัก ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะจากตัวแทนภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจคือ ภาครัฐควรสนับสนุนการจัดทำแผนการท่องเที่ยวระหว่างกันและอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เช่น เวลาในการเปิด-ปิดด่าน การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณด่าน เป็นต้น |