![]() |
บทบาทของสหรัฐอเมริกากับการสนับสนุนสิทธิสตรีผ่านการศึกษาการ์ตูน วอลท์ดิสนีย์ที่ผู้หญิงมีบทบาทนำ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศรัณย์ภัทร์ ไชยแหม่ง |
Title | บทบาทของสหรัฐอเมริกากับการสนับสนุนสิทธิสตรีผ่านการศึกษาการ์ตูน วอลท์ดิสนีย์ที่ผู้หญิงมีบทบาทนำ |
Contributor | นิลุบล ไพเราะ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 146-178 |
Keyword | สิทธิสตรี, การ์ตูนวอลท์ ดิสนีย์, บทบาทของสหรัฐอเมริกา |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการ์ตูนดิสนีย์ที่ผู้หญิงมีบทบาทนำที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของสหรัฐอเมริกาในการสนับสนุนสิทธิสตรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) เกี่ยวกับประเด็นสิทธิสตรีผ่านภาพยนตร์การ์ตูนดิสนีย์ ทั้งจากการทบทวนวรรณกรรม ร่วมกับการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) จากสื่อภาพยนตร์การ์ตูนดิสนีย์ แนวคิดทฤษฎี ใช้แนวคิดสำนักสตรีนิยม แนวคิด Soft Power แนวคิดจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทภาพยนตร์และแนวคิดการเล่าเรื่อง มาอธิบายผ่านกรณีศึกษาภาพยนตร์การ์ตูน 5 เรื่อง ได้แก่ 1) ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ (Frozen) 2) นครสัตว์มหาสนุก (Zootopia) 3) ผจญภัยตำนานหมู่เกาะทะเลใต้ (Moana) 4) รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2 (Incredible 2) และ 5) รายากับมังกรตัวสุดท้าย (Raya and the Last Dragon) โดยผู้วิจัยมีความสนใจการนำเสนอบทบาทตัวละครผู้หญิงในการ์ตูนและเรื่องราวที่นําเสนอออกมาให้ได้รับชม ซึ่งเป็นการศึกษาในช่วงที่วอลท์ ดิสนีย์ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวด้านสตรีนิยมที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งยังวิเคราะห์แนวนโยบายด้านสิทธิสตรีของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาที่ภาพยนตร์ดังกล่าวเข้าฉายควบคู่กันอีกด้วย ผลการศึกษาพบว่าภาพยนตร์การ์ตูนดิสนีย์ทั้ง 5 เรื่องนั้น ได้นำเสนอบทบาทของผู้หญิงที่สะท้อนลักษณะตามที่สำนักสตรีนิยมให้คำอธิบาย โดยมีการขยายภาพความสามารถของผู้หญิงและส่งเสริมให้ตัวละครผู้หญิงมีบทบาทสำคัญและบทบาทนำมากขึ้น รวมถึงเนื้อหาของภาพยนตร์บางเรื่องได้แสดงให้เห็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างชายหญิงที่เป็นไปตามแนวคิดสตรีนิยมสายเสรีนิยมที่สนับสนุนความเท่าเทียมของชายหญิง ในขณะเดียวกันภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่อง ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือ Soft Power ของสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมสิทธิและการเสริมอำนาจของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงผ่านนโยบายต่างประเทศร่วมกับสื่อจากดิสนีย์ ซึ่งการดำเนินงานของสหรัฐอเมริกานี้เชื่อมโยงกับการสร้างความตระหนักในการสนับสนุนสิทธิสตรีในสังคมโลกและเป็นการขยายอุดมการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนตามนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย |