![]() |
การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ ร่วมกับหน่วยงานราชการ ส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธรรณญธร ดลปัดชา |
Title | การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ ร่วมกับหน่วยงานราชการ ส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
Contributor | กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 132-145 |
Keyword | โควิด-19, การบูรณาการ, ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรค |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ การวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่า ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอ (ศปก.อ.) ร่วมกับหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการดำเนินการร่วมกันอย่างไร ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวนทั้งสิ้น 26 คน โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่มาจาก 4 กลุ่ม ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และกำนันในอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอร่วมกับหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการสั่งการจากบนลงล่างเป็นลำดับ จาก ศบค. ไปยัง ศบค.มท., ศปก.จ, ศปก.อ., และ ศปก.ต. แต่ขาดการขับเคลื่อนของ ศปก.อ. อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง การดำเนินงานจึงเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ การสั่งการจากระดับบนสู่ล่าง ทำให้อำนาจการตัดสินใจกระจุกอยู่ที่ส่วนกลาง การบริหารทรัพยากรเงิน คน สิ่งของ โดยเฉพาะวัคซีน ต้องรอการอนุมัติจากส่วนกลางทั้งที่การป้องกันและเยียวยาต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ฉะนั้น การบูรณาการร่วมกันของส่วนราชการที่เข้มข้นและต่อเนื่อง จะทำให้มีการขับเคลื่อนกลไกการควบคุมโรคเป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น การให้ส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่มีอำนาจตัดสินใจ จะทำให้การบริหารจัดการการแพร่ระบาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน |