24 ปี ของประเทศไทยในการเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์: กลไกการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
รหัสดีโอไอ
Creator ภิรนา พุทธรัตน์
Title 24 ปี ของประเทศไทยในการเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์: กลไกการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2566
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 12
Journal No. 1
Page no. 95-116
Keyword อนุสัญญาแรมซาร์, แรมซาร์ไซต์, พื้นที่ชุ่มน้ำ
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract นับเป็นเวลากว่า 24 ปีแล้วที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือแรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว เป็นจำนวน 15 แห่ง แต่ทว่าในทางปฏิบัติการคุ้มครองแรมซาร์ไซต์ของประเทศไทยยังคงเกิดปัญหาเรื่อยมา เพราะปัจจัยภายในที่ซ่อนอยู่ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีนโยบายระดับชาติที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อรองรับการดำเนิน งาน และมีกฎหมายภายในหลายฉบับที่สอดคล้องกับอนุสัญญาแรมซาร์ อย่างไรก็ดีประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องการกำหนดขอบเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบางแห่งไม่ชัดเจน รวมทั้งปัญหาการดำเนินกิจกรรมนอกขอบเขตพื้นที่ชุ่มน้ำที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการออกกฎหมายในการสร้างแนวพื้นที่กันชนพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands Buffer Zone) อย่างเป็นระบบ และในกรณีที่แรมซาร์ไซต์แห่งใดมีเขตพื้นที่ทับซ้อนกับเขตอนุรักษ์ประเภทต่าง ๆ การออกกฎหมายท้องถิ่นไม่ควรบัญญัติซ้ำกับข้อห้ามที่มีอยู่แล้วเพื่อป้องกันความสับสนในทางปฏิบัติ นอกจากนี้ในการวางแผนบริหารจัดการของแรมซาร์ไซต์ในแต่ละแห่งควรประกอบไปด้วยหลัก 4 ประการ คือ 1) การพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) การอนุรักษ์ 3) การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด และ 4) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารซึ่งควรต้องมีในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ