พฤติกรรมการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี (ในการเลือกตั้งวันที่ 28 มีนาคม 2564) และผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562
รหัสดีโอไอ
Creator ประเทือง ม่วงอ่อน
Title พฤติกรรมการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี (ในการเลือกตั้งวันที่ 28 มีนาคม 2564) และผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2566
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 12
Journal No. 1
Page no. 70-94
Keyword การเลือกตั้ง, นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี, พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract การศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี (ในการเลือกตั้งวันที่ 28 มีนาคม 2564) และผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี (ในการเลือกตั้งวันที่ 28 มีนาคม 2564) และเพื่อศึกษาผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562  ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ สรุปข้อค้นพบที่สำคัญ ดังนี้ (1) พฤติกรรมการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี ในการเลือกตั้งวันที่ 28 มีนาคม 2564  พบว่า (1.1) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71.02 มากกว่าอัตราการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 24 มีนาคม 2562 ร้อยละ 70.858 การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (อบจ.) ร้อยละ 63.027 และสูงกว่าอัตราการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีเฉลี่ยทั้งจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีจำนวนผู้มาใช้สิทธิเฉลี่ยทั้งจังหวัด ร้อยละ 70.12  (1.2) ข้อมูลเรื่องคัดค้านและสำนวนการเลือกตั้ง พบว่า มีจำนวน  24 เรื่อง  (1.3) การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี  ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ลำดับที่ 1 หมายเลข 1 นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม (กลุ่มเพื่อไทย นครอุบล) ชนะการเลือกตั้ง เหนือคู่แข่งสำคัญ คือ หมายเลข 2  นายประชา กิจตรงศิริ (กลุ่มเพื่ออุบล)  (1.4) ปัจจัยที่ทำให้ชนะการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี ได้แก่  (1.4.1) ทีมงานเครือข่ายของพรรค พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี โดยนายกานต์  กัลป์ตินันท์ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562  จังหวัดอุบลราชธานี ก็พบว่า พรรคเพื่อไทย สามารถชนะการเลือกตั้ง 7 เขต จาก 10 เขต โดยเฉพาะเขตเลือกตั้งที่ 1 ในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานีเป็นเขตพื้นที่ของสามีของนางสาวพิศทยา ไชยสงคราม คือ นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์  ซึ่งเป็น ส.ส. 3 สมัย  (1.4.2) ปัจจัยส่วนบุคคล การลงพื้นที่ของผู้สมัคร พบว่า นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม (กลุ่มเพื่อไทย นครอุบล) ได้เตรียมตัวสำหรับการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานีมานานแล้ว ทีมงานมีความพร้อม  (1.4.3) นโยบายของผู้สมัคร นโยบายที่มีความโดดเด่น เช่น โครงการปรับปรุงตลาดใหญ่ โครงการทำถนนเลียบแม่น้ำมูลจากถนนเลี่ยงเมืองถึงอ่างเก็บน้ำห้วยวังนอง และ  (1.4.4)  การจ่ายเงินซื้อเสียง และปัจจัยอื่นๆ (2) ผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562  สรุปได้ว่าพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการลงสมัครรับเลือกตั้งและการหาเสียงเลือกตั้ง ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และความเป็นจริงในปัจจุบัน โดยเฉพาะข้อห้ามในการหาเสียง การขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.อบจ.และนายก อบจ. การถูก กกต.มีคำสั่งให้ถอนชื่อ ฯลฯ  ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ  ควรลดข้อจำกัด ความยุ่งยาก ที่เป็นการกีดกันผู้สมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562  โดยเฉพาะข้อห้ามในการหาเสียง การขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.อบจ.และนายก อบจ. การถูก กกต.มีคำสั่งให้ถอนชื่อ เป็นต้น
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ