![]() |
การคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรมจากการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด 19 สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม (Good Factory Practice (GFP) |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | คณาธิป ทองรวีวงศ์ |
Title | การคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรมจากการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด 19 สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม (Good Factory Practice (GFP) |
Contributor | อรวรรณ พจนานุรัตน์, ดวงกมล ศรีสุวรรณ์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 51-69 |
Keyword | ข้อมูลส่วนบุคคล, ลูกจ้าง, โรงงานอุตสาหกรรม, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, แนวปฏิบัติที่ดีทางอุตสาหกรรม |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์ว่ามาตรการ GFP ส่งผลกระทบในลักษณะการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การตีความและประเด็นปัญหาทางกฎหมายในการปรับใช้ฐานความยินยอมตามข้อตกลงการใช้งานแพลตฟอร์มที่เกี่ยวเนื่องกับ GFP ได้แก่ TSC และ TST (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปรับใช้ฐานทางกฎหมายอันเป็นข้อยกเว้นของความยินยอม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานโรงงาน ตามข้อตกลงการใช้งานแพลตฟอร์มที่เกี่ยวเนื่องกับ GFP ได้แก่ TSC และ TST งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความข้อตกลงการใช้งานโดยวิเคราะห์การตีความกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายสหภาพยุโรป ผลการศึกษาพบว่า (1) แพลตฟอร์ม TST กำหนดให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลระบุตัว ข้อมูลพฤติกรรมและสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคติดต่อโควิด 19 แต่แพลตฟอร์ม TSC เก็บข้อมูลของพนักงานเฉพาะในส่วน ผู้ติดต่อหรือประสานงาน (2) ข้อตกลงแพลตฟอร์ม TST ข้อ 3.3 ขอความยินยอมจากผู้ใช้งาน แต่จากการนำองค์ประกอบของความยินยอมตามแนวทางสหภาพยุโรปและกฎหมายไทยมาวิเคราะห์ พบว่า ไม่สอดคล้องกับองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความไม่สมดุลเชิงอำนาจต่อรอง การยินยอมที่เชื่อมโยงกับผลกระทบทางลบ ข้อตกลงแพลตฟอร์ม TSC มีเนื้อหาคล้ายคลึงกับ TST แต่ไม่ระบุถึงความยินยอมสำหรับพนักงานโรงงานที่เป็นผู้ติดต่อหรือประสานงาน (3) ข้อตกลงแพลตฟอร์ม TST ข้อ 3.2 ระบุข้อยกเว้นของความยินยอม 3 ฐาน คือ มาตรา 24 (3) มาตรา 26 (5) (ก) และ 26 (5) (ค) ซึ่งผลการวิเคราะห์ฐานทางกฎหมายชี้ให้เห็นว่า การอ้างอิงฐานดังกล่าวไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขและหลักการตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข้อตกลงแพลตฟอร์ม TSC มีเนื้อหาคล้ายคลึงกับ TST แต่ไม่ระบุถึงฐานทางกฎหมายสำหรับข้อมูลของพนักงานที่เป็นผู้ติดต่อหรือประสานงาน ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขข้อตกลงการใช้บริการของ TST และ TSC และปรับเปลี่ยนการอ้างฐานทางกฎหมายโดยอาศัยความยินยอมจากพนักงานโรงงานที่เป็นผู้ใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าว |