การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
รหัสดีโอไอ
Creator เสาวลักษณ์ สมยา
Title การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Contributor ประโยชน์ ส่งกลิ่น
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2566
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 12
Journal No. 1
Page no. 17-32
Keyword การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้การวิจัยแบบผสม ซึ่งในเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุจำนวน 400 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ ผู้สูงอายุจำนวน 8 คน และจัดการข้อมูลโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่ และนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) ความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพร่างกายที่ดี ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และด้านสภาพอารมณ์ที่ดี ตามลำดับ และในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม และด้านการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ตามลำดับ และ 2) ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่ (1) หน่วยงานภาครัฐ อาสาสมัคร จิตอาสา ควรมีการลงพื้นที่ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นประจำ (2) ควรมีการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมากขึ้นจากเดิม (3) ควรมีการเปิดศูนย์การเรียนรู้ฝึกอาชีพให้ผู้สูงอายุ (4) ควรมีการจัดทำลานกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ และ (5) ควรมีการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพ ผลการศึกษา พบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพร่างกายที่ดี ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และด้านสภาพอารมณ์ที่ดี ตามลำดับ และในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม และด้านการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ตามลำดับ และ 2) ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่ (1) หน่วยงานภาครัฐ อาสาสมัคร จิตอาสา ควรมีการลงพื้นที่ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นประจำ (2) ควรมีการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมากขึ้นจากเดิม (3) ควรมีการเปิดศูนย์การเรียนรู้ฝึกอาชีพให้ผู้สูงอายุ (4) ควรมีการจัดทำลานกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ และ (5) ควรมีการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพ
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ