![]() |
ผลการดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดโรค ลัมปี สกิน ของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอยางตลาด |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นิคม วงศ์เชียงยืน |
Title | ผลการดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดโรค ลัมปี สกิน ของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอยางตลาด |
Contributor | พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 139-157 |
Keyword | ลัมปี สกิน, วัคซีน, การแพร่ระบาด |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มุ่งเสนอผลการดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน ในวัวของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอยางตลาด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบการระบาดของโรค ข้อมูลที่ใช้ในการรายงานผลการดำเนินการครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมจากการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 210 คน ที่สุ่มมาจากผู้ที่มีคุณสมบัติ สามารถตอบคำถามได้ ผนวกกับข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการเฝ้าสังเกตการทำงานและคุณสมบัติของบุคลากรของสำนักงานปศุสัตว์และสถิติการให้บริการต่าง ๆ ที่ได้จัดเก็บรวบรวมไว้ในสำนักงาน ข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกนำมาวิเคราะห์สรุปเป็นผลการดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกินของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอยางตลาด โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาอันได้แก่ค่าจำนวน ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรเกือบทั้งหมดหรือ 208 รายคิดเป็นร้อยละ 99 มีความรู้และความเข้าใจว่า โรคลัมปี สกิน สามารถป้องกันได้ และมีเกษตรกรจำนวน 132 รายหรือร้อยละ 62.9 ที่ได้นำวัวไปฉีดวัคซีน ส่งผลให้จำนวนวัวป่วยด้วยโรคลัมปี สกินลดลงจากเฉลี่ยเดือนละ 123 ตัวในระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2564 ถึงพ.ศ. 2565 เหลือเพียงเฉลี่ยเดือนละ 8 ตัว ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมพ.ศ. 2566 ส่วนจำนวนวัวที่ตายลดลงเช่นเดียวกัน จากเฉลี่ยเดือนละ 13.5 ตัวเหลือเพียง 7.6 ตัวในช่วงเวลาเดียวกัน ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสำนักงาน ปศุสัตว์อำเภอยางตลาดยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคให้เป็นศูนย์ได้ อันเนื่องมาจากอัตราการครอบคลุมของการฉีดวัคซีนยังต่ำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเร่งออกฉีดวัคซีนให้แก่วัวของเกษตรกรเพื่อลดอัตราการตายของวัวในพื้นที่ |