ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นกับการขยายตัวของพรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษ : กรณีการดึง 3 ส.ส. พรรคเพื่อไทยมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย
รหัสดีโอไอ
Creator วันชัย ติวสูงเนิน
Title ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นกับการขยายตัวของพรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษ : กรณีการดึง 3 ส.ส. พรรคเพื่อไทยมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย
Contributor ศุภกร บุญสะอาด, อนุสรณ์ โฉมยงค์, อดิเทพ สมบัติหลาย, ประเทือง ม่วงอ่อน
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2566
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 12
Journal No. 1
Page no. 179-197
Keyword พรรคภูมิใจไทย, พรรคเพื่อไทย, ศรีสะเกษ
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นกับการขยายตัวของพรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษ : กรณีการดึง 3 ส.ส. พรรคเพื่อไทยมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย  มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการการก่อตัวและการเพิ่มฐานเสียงของกลุ่มพรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มการเมืองพรรคภูมิใจไทย กับนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  มีข้อค้นพบว่า 1) พัฒนาการการก่อตัวและการเพิ่มฐานเสียงของกลุ่มพรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษ  แบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ (1) ช่วงที่ 1  ช่วงการก่อตั้งพรรคภูมิใจไทยปี 2551 พรรคภูมิใจไทยได้เริ่มส่งว่าที่ผู้สมัครลงพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้ทางการเมือง ลงไปพบปะประชาสัมพันธ์ตนเองและพรรค ทำกิจกรรมช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้งที่เล็งไว้  ซึ่งในช่วงที่ 1  พรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษได้กำหนดเขตที่ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งไว้เพียง 3 เขตเลือกตั้ง ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 7 และเขตเลือกตั้งที่ 8  (2) ช่วงที่ 2 ช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดศรีสะเกษปี 2554  ในการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 พรรคภูมิใจไทยได้เริ่มส่งผู้สมัครที่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้าหลายปี ลงสมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 3 เขตดังกล่าวข้างต้น สามารถชนะการเลือกตั้งจำนวน 1 เขต จากทั้งหมด 3 เขต โดยบางเขตที่แพ้เลือกตั้งมีคะแนนสูสีกับคู่แข่งจากพรรคเพื่อไทยอย่างมีนัยสำคัญทางการเมืองและ (3) ช่วงที่ 3  ช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดศรีสะเกษปี 2562  ในการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562  ครั้งนี้พรรคภูมิใจไทยได้ส่งผู้สมัครลงทุกเขตการเลือกตั้ง ซึ่งมีทั้งหมด 8 เขตเลือกตั้ง ปรากฎว่าพรรคภูมิใจไทยสามารถขยายฐานที่มั่นทางการเมืองโดยสามารถชนะการเลือกตั้ง 2 เขตเลือกตั้ง คือเขต 1 นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ และเขต 7 นายอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มการเมืองระดับชาติพรรคภูมิใจไทย กับนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ความสัมพันธ์รูปแบบเครือญาติ มีลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก แบบพี่-น้อง หรือ ป้า/ลุง-หลาน เป็นการสร้างทายาททางการเมือง โดยอาศัยฐานเสียงหรือคะแนนนิยมของการเมืองระดับท้องถิ่นที่ผูกขาดอำนาจมาอย่างยาวนาน ทั้งระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยนายวิชิต ไตรสรณกุล (นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ) และระดับเทศบาลเมืองศรีสะเกษ โดยนายฉัตรมงคล อังคสกุลเกียรติ (นายกเทศมนตรีเมืองศรีสะเกษ) เป็นฐานสนับสนุนทางการเมืองของพรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษ  และ (2) ความสัมพันธ์แบบประสานผลประโยชน์ทางการเมือง อาทิ การแต่งตั้งเครือข่ายให้เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง การแบ่งพื้นที่ทางการเมืองในระดับท้องถิ่นระดับเทศบาลเมือง กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอย่างชัดเจน พรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษอาศัยตัวแสดงหลัก คือ กลุ่มตระกูลไตรสรณกุล  และกลุ่มอังคสกุลเกียรติ ที่สามารถผูกขาดการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัด มีการสร้างความร่วมมือและการสร้างพันธมิตรทางการเมืองมาอย่างยาวนาน รวมทั้ง ความสามารถในการระดมทรัพยากรทางการเมือง ภายใต้ความอ่อนแอของพรรคเพื่อไทยในเขตพื้นที่ ส่งผลให้พรรคภูมิใจไทยสามารถสร้างฐานที่มั่นในจังหวัดศรีสะเกษได้
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ