ทุนท้องถิ่นกับการพัฒนาทรัพยากรประมงพื้นบ้านชุมชนริมเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
รหัสดีโอไอ
Creator ธวัชชัย เคหะบาล
Title ทุนท้องถิ่นกับการพัฒนาทรัพยากรประมงพื้นบ้านชุมชนริมเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
Contributor นิตยา เคหะบาล
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2565
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 11
Journal No. 1
Page no. 106-123
Keyword ทุนท้องถิ่น, ทรัพยากรประมงพื้นบ้าน, ทุนทางการเงิน, ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนท้องถิ่นที่เกี่ยวกับทรัพยากรประมงพื้นบ้าน และ พัฒนาแนวทางการเสริมสร้างทุนท้องถิ่นที่เกี่ยวกับทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ชุมชนริมเขื่อนลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีประชากรในการวิจัย คือ ตัวแทนครัวเรือน 139 ครัวเรือน และกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักวิจัยชุมชน ตัวแทนจากภาคประชาสังคม และ ตัวแทนจากภาครัฐ รวมทั้งสิ้น 33 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง พื้นที่ดำเนินการวิจัย คือ ชุมชนริมเขื่อนลำปาว ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์โดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า ทุนท้องถิ่นที่เกี่ยวกับทรัพยากรประมงพื้นบ้านของชุมชนริมเขื่อนลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์ มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ทุนมนุษย์ คือ อายุ อาชีพ และ ประสบการณ์ 2) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ คือ สัตว์น้ำ น้ำ ดิน และป่าไม้ 3) ทุนทางกายภาพ คือ การถือครองที่ดิน เครื่องมือทำประมง และ ภูมิประเทศ 4) ทุนทางการเงิน คือ อาชีพและรายได้ การออม การใช้จ่าย และ แหล่งเงินทุน 5) ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม คือ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน การเคารพกฎหมายและกติกาชุมชน ประเพณีและความเชื่อ ผู้นำและกลุ่มองค์กรในชุมชน และความสัมพันธ์กับเครือข่ายภายนอก และพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างทุนท้องถิ่นที่เกี่ยวกับทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ชุมชนริมเขื่อนลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ 1) เพิ่มความรู้ด้านการพัฒนามาตรฐานและการตลาดผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำให้แก่กลุ่มอาชีพในชุมชน 2) การจัดการของเสียในครัวเรือนและอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรประมงพื้นบ้าน 3) อนุรักษ์ฟื้นฟูเครื่องมือประมงพื้นบ้าน 4) จัดตั้งสถาบันการเงินชุมชน และ 5) จัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายคณะกรรมการประมงพื้นบ้าน
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ