ปัญหาทางกฎหมายของสัญญาประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสดีโอไอ
Creator พรชัย สุนทรพันธุ์
Title ปัญหาทางกฎหมายของสัญญาประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
Contributor สุเมธ จานประดับ, ณชัชชญา ทองจันทร์
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2565
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 11
Journal No. 1
Page no. 1-15
Keyword ประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), สัญญาประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) ลักษณะของสัญญาประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2) การแบ่งประเภทของสัญญาประกันภัยตามมาตรา 861 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการแบ่งประเภทของสัญญาประกันภัยตามกฎหมายของประเทศ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเวียดนาม และ 3) เสนอแนะแนวทางให้ คปภ. เพื่อการกำกับดูแลบริษัทประกันภัยในการเสนอขายและทำสัญญาประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับประชาชนที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยเป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาศาลฎีกา การตีความสัญญาประกันภัย และสืบค้นจากฐานข้อมูลอินเทอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่าประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยทั้งสัญญาประกันวินาศภัย และสัญญาประกันชีวิตอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวกัน การที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อนุมัติให้ทั้งบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตเสนอขายและทำสัญญาประกันนี้กับประชาชนถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะการประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยให้แยกการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากการประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามการแบ่งประเภทของสัญญาประกันภัยตามมาตรา 861 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตทำการฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้เขียนเสนอแนะให้แยกความคุ้มครองในส่วนของสัญญาประกันวินาศภัยและสัญญาประกันชีวิตของประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่ให้อยู่ในกรมธรรม์ฉบับเดียวกัน และในฐานะที่ คปภ. มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยควรออกประกาศของนายทะเบียนในการกำหนดแนวทางให้แก่บริษัทประกันวินาศภัยเสนอขายและทำสัญญาได้เฉพาะค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยการสูญเสียรายได้ตามจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย และบริษัทประกันชีวิตเสนอขายและทำสัญญาได้เฉพาะค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยการสูญเสียรายได้ และการเสียชีวิตในเงินจำนวนหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ