![]() |
รูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแผนการจัดการในจังหวัดสุรินทร์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ประสุดา เจริญสุข |
Title | รูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแผนการจัดการในจังหวัดสุรินทร์ |
Contributor | เค็น เทย์เลอร์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2564 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 221 - 247 |
Keyword | การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เส้นทางวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของทวีปเอเชีย ซึ่งทำให้เกิดรายได้ภายในประเทศทั้งระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งซึ่งส่งเสริมคุณลักษณะเฉพาะของระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น เป็นการนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวแก่ผู้เยี่ยมชมเพื่อสำรวจมรดกทางวัฒนธรรมของภูมิภาค มีสิ่งที่สำคัญคือสามารถสัมผัสและเยี่ยมชมสถานที่ที่น่าสนใจ การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นถึงการศึกษาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่มีอยู่ในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น โดยจะเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาทรัพยากรทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีกด้วย การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษามรดกทางวัฒนธรรม (๒) วิเคราะห์แผนการจัดการสถานการณ์การท่องเที่ยวและสถานที่ท่องเที่ยวในปัจจุบัน (๓) กำหนดแนวทางสำหรับแผนการจัดการที่ยั่งยืนพร้อมทั้งกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผู้เยี่ยมชมอย่างเหมาะสมเพื่อให้การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ผลการวิจัยที่สำคัญนี้ชี้ให้เห็นว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมยังไม่มีความเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ อีกทั้งยังขาดแผนการจัดการและแนวทางในการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ ถึงแม้ได้มีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานในพื้นที่และชุมชน และมีกลยุทธ์ในการส่งเสริมกระตุ้นการขายและการตลาดภายในจังหวัดสุรินทร์เพื่อเพิ่มการท่องเที่ยวแล้วก็ตามแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และยังไม่สามารถแสดงอัตลักษณ์ให้นักท่องเที่ยวได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเส้นทางท่องเที่ยวและแผนการท่องเที่ยวที่เป็นปัจจัยในการดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์ ดังนั้นการเสนอแนะรูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแผนการจัดการที่เอื้อประโยชน์ต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุรินทร์ ถือว่าเป็นการนำเสนอวิสัยทัศน์ใหม่และเป็นแนวทางให้สุรินทร์ก้าวไปสู่ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักแห่งใหม่ในพื้นที่อีสานใต้ เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอยู่มากมายในจังหวัดสุรินทร์ |