![]() |
กลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม |
Title | กลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
Contributor | จิระพันธ์ ห้วยแสน, อรรถพงษ์ ศิริสุวรรณ, กตัญญู แก้วหานาม, สิรินดา กมลเขต, จริยา อินทนิล, อาริยา ป้องศิริ, นิตยา เคหะบาล, อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2564 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 257-288 |
Keyword | การแก้ไขปัญหาความยากจน, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, กลไกเชิงพื้นที่ |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | กลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคนจนและหนุนเสริมกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดกาฬสินธุ์ใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative methods) ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (key informants) ได้แก่ ผู้ว่าราชการกาฬสินธุ์ ปลัดจังหวัด พัฒนาการจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด ประธานหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรม นายอำเภอ ปลัด นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักวิชาการ ตลอดจนคนจนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 24 คน เกณฑ์ที่จะใช้กำหนดจำนวนผู้ให้ข้อมูล คือ ความเข้มในการรู้ข้อมูล (Intensity) และความพอเพียงของข้อมูล (adequacy)สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Induction) โดยการสร้างข้อสรุปทั่วไปที่มีความเชื่อมโยงจากการสังเกต เชิงประจักษ์ (Empirical Observation) และ ใช้การตีความ (Interpretative) เข้ามาวิเคราะห์ผลการศึกษา ร่วมกับโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ATLAS.ti ผลการศึกษาพบว่า กลไกการสร้างความร่วมมือ ทั้งกับหน่วยงานราชการ และภาคีอื่นให้มาร่วมทำงาน การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและภาคีในการทำงานระดับพื้นที่ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้ดำเนินการ สร้างความร่วมมือใน 2 ลักษณะ คือ 1. การสร้างความร่วมมือแบบทางการ ผ่านคำสั่งทางปกครอง ในกรณีที่จังหวัดเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบาย และการทำหนังสือเชิญของหน่วยงานในระดับเดียวกันเพื่อขอความร่วมมือในการเป็นภาคีความร่วมมือ และ 2.การสร้างความร่วมมือแบบไม่เป็นทางการ ผ่านเครือข่ายที่เกิดจากการสร้างวงเสวนา การประชุมในสภากาแฟ และชุมนุมนักปฏิบัติ (Community of Practice) เกิดเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวและนำมาซึ่งการประสานงานที่ไม่เป็นทางการระหว่างหน่วยงาน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากลไกในการขับเคลื่อนความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือในทั้ง 2 ลักษณะ คือ ความร่วมมือที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อให้นโยบายสามารถนำไปปฏิบัติได้บรรลุวัตถุประสงค์ทางนโยบาย |