![]() |
การสร้างความปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกตั้ง กรณีศึกษา การเลือกผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศักดิ์ดา ชาวกล้า |
Title | การสร้างความปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกตั้ง กรณีศึกษา การเลือกผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ |
Contributor | อลงกรณ์ อรรคแสง |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2564 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 447 - 473 |
Keyword | ความปรองดองสมานฉันท์, การเลือกผู้ใหญ่บ้าน, อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์และลักษณะของความขัดแย้ง รวมถึงกระบวนการและแนวทางพัฒนาของการสร้างการปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เลือกอย่างเฉพาะเจาะจง 2 กลุ่ม ได้แก่ ด้านชุมชนและด้านหน่วยงานของรัฐ ทั้งสิ้น 42 คน ทั้งนี้ จะใช้แนวคิดความขัดแย้งและแนวคิดการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาพบปรากฏการณ์และลักษณะของความขัดแย้งในรูปแบบการไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน การคอยจ้องจับผิดและร้องเรียนการทำงานของผู้ใหญ่บ้าน รวมไปถึงการใช้ความรุนแรง โดยเกิดขึ้นระหว่างผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านด้วยกันเอง ระหว่างญาติของผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านกับตัวผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านอีกฝ่าย และกลุ่มพรรคพวกของผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านด้วยกันเอง ทั้งนี้ สาเหตุของความขัดแย้งมีที่มาจากทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องการทำงาน และการแย่งชิงตำแหน่ง ขณะที่กระบวนการและแนวทางพัฒนาของการสร้างการปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกผู้ใหญ่บ้านพบว่าหน่วยงานของรัฐมีบทบาทแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความสามัคคีเป็นหลัก ด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ (1) การเยียวยาทางจิตใจด้วยการทำความเข้าใจบริบทของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การใช้ทรัพยากรถิ่น และการเยียวยาคู่กับการสร้างสิ่งใหม่ร่วมกัน (2) การสานเสวนาด้วยวิธีการเล่าความจริง และ (3) การจัดการอารมณ์และความรู้สึกของคนด้วยการใช้ศาสนาและความเชื่อเป็นเครื่องมือ ทั้งนี้ แม้มีกลุ่มที่ไม่เชื่อว่าจะแก้ไขความขัดแย้งได้จริง แต่การทำให้เป็นต้นแบบและการเผยแพร่แนวทางเพื่อการศึกษาก็เป็นแนวทางเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในพื้นที่อีก |