![]() |
คำท้ากับบทบาทของศาลเพื่อ แสวงหาความจริงในคดีแพ่ง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ภิรนา พุทธรัตน์ |
Title | คำท้ากับบทบาทของศาลเพื่อ แสวงหาความจริงในคดีแพ่ง |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2564 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 310 - 336 |
Keyword | กฎหมายพยาน, คำท้า, กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | ภายใต้หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความ การแสวงหาความจริง (Fact-Finding) เป็นบทบาทของศาลที่สำคัญในการพิจารณาคดีทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา การทำคำท้า (Challenges) ในคดีแพ่งโดยความสมัครใจของคู่ความเป็นวิธีการสืบพยานหลักฐานที่คู่ความสามารถตกลงกันได้ เพื่อให้เกิดผลแพ้หรือชนะอันทำให้ประเด็นข้อพิพาทในคดียุติลงด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่ทว่า การกำหนดเงื่อนไขของคู่ความในคำท้าภายใต้กฎหมายของไทยนั้น มีความเป็นอิสระอย่างมาก คู่ความอาจกำหนดให้มีเงื่อนไขใด ๆ ระหว่างกันก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยเฉพาะการท้าสาบาน (Decisory Oath) ที่ในปัจจุบันหลายประเทศในภาคพื้นยุโรปได้ยกเลิกการทำคำท้าสาบานแล้ว เพราะเหตุว่าการท้าสาบานนั้นขัดต่อหลักการค้นหาความจริงอันเป็นบทบาทของศาลในการพิจารณาคดี การทำคำท้าที่ไม่มีขอบเขต และศาลไม่สามารถใช้ดุลพินิจในการกำหนดขอบเขตได้นั้น อาจทำให้ศาลกลายเป็นเครื่องมือของคู่ความฝ่ายชนะคำท้าแทน เพื่อป้องกันการเสียเปรียบในคดี การอนุญาตให้ท้ากันในชั้นศาล ศาลควรเข้ามามีบทบาทในการกำกับควบคุมการท้ากันของคู่ความได้ทั้งประเด็นแห่งคดีในการทำคำท้า เงื่อนไขในการทำคำท้า และผลของคำท้า อันจะทำให้คำท้าสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักการพิจารณาคดีแพ่งได้อย่างสูงสุด |