![]() |
เงื่อนไขที่ทำให้ผู้หญิงถูกเลือกเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ทิฆัมพร แสนเจ๊ก |
Title | เงื่อนไขที่ทำให้ผู้หญิงถูกเลือกเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
Contributor | ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2564 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 274 - 309 |
Keyword | สตรีนิยม, การเมืองในชีวิตประจำวัน, เพศสภาพ |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านของผู้หญิง รวมถึงการต่อรองและปรับตัวต่อสถานการณ์และอุปสรรคที่ถูกกำหนดโดยปัจจัยเพศสภาพ ในอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการวิจัยเอกสารประกอบกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้หญิงในตำบลร่องคำ 4 คน บุคคลที่ร่วมปฏิบัติงานกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 4 คน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้ชาย 3 คน ทั้งนี้ ข้อมูลจากเอกสารใช้ทฤษฎีการคิดของมาร์ซาโนในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาทำให้เห็นว่าการที่ผู้หญิงถูกเลือกให้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมาจากบุคคลสองฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายผู้เลือกคือผู้ใหญ่บ้าน โดยมีเงื่อนไขว่าผู้หญิงที่ถูกเลือกต้องมีความเป็นผู้นำ เคยทำงานเพื่อส่วนรวมมาก่อน มีความรู้จักคุ้นเคย เป็นที่นับหน้าถือตาของหมู่บ้าน และต้องได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ส่วนฝ่ายผู้ถูกเลือกซึ่งก็คือผู้หญิงมีเงื่อนไขในการเข้ามาเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านก็คือตำแหน่งนี้เป็นแหล่งรายได้ ตัวเองมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใหญ่บ้าน ต้องการเป็นที่ยอมรับ และเป็นแรงจูงใจส่วนบุคคลที่ต้องการเข้ามาพัฒนาท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การทำงานของผู้หญิงก็ยังมีข้อจำกัดในด้านเพศสภาพ ดังนั้น เมื่อได้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จึงต้องมีการปรับตัวและต่อรองเพื่อให้สามารถทำงานได้ทั้งงานในบ้านและงานฝ่ายปกครอง โดยการปรับตัวและต่อรองด้วยการแสดงออก การสร้างพื้นที่ในสังคม ตลอดจนการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศขึ้น |