การเปรียบเทียบบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยและกองทัพอินโดนีเซียตั้งแต่ พ.ศ. 2535 - 2563
รหัสดีโอไอ
Creator วันวิชิต บุญโปร่ง
Title การเปรียบเทียบบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยและกองทัพอินโดนีเซียตั้งแต่ พ.ศ. 2535 - 2563
Contributor ธีรพงษ์ บัวหล้า
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2564
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 10
Journal No. 1
Page no. 1-40
Keyword บทบาททางการเมือง, กองทัพ, การเปรียบเทียบ
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract บทความวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการบทบาททางการเมือง และปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยและกองทัพอินโดนีเซีย ตั้งแต่ พ.ศ.2535-2563 ด้วยวิธีการสัมภาษณ์อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศ ผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า พัฒนาการบทบาททางการเมืองของกองทัพทั้งสองประเทศ ตลอดเกือบสามทศวรรษมาจากความแตกต่างรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ ทัศนคติทางสังคมที่มีต่อกองทัพ และความสัมพันธ์ของกองทัพกับประชาชนมีผลต่อการกำหนดท่าทีการตัดสินใจทางการเมือง สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมของพัฒนาการบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยคือต้นทุนทางสังคมสูงกว่าฝ่ายการเมืองถือเป็นข้ออ้างความชอบธรรมทางการเมืองเพื่อถ่วงดุลอำนาจทางการเมือง และมีแนวโน้มให้กองทัพไทยยังรักษาบทบาททางการเมืองไว้ได้จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่กองทัพอินโดนีเซีย หลังยุคประธานาธิบดีซูฮาร์โต ได้ถูกปรับลดอำนาจบทบาททางการเมืองแบบค่อยเป็นค่อยไป การเมืองภาคประชาชนได้ปฏิเสธการกลับไปสู่บรรยากาศกองทัพนำการเมืองเหมือนในอดีต มีผลบังคับให้กองทัพอินโดนีเซียเร่งเดินหน้าปฏิรูปองค์กรตัวเองมาอย่างต่อเนื่องตามหลักการของกองทัพอาชีพ สำหรับปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยและกองทัพอินโดนีเซีย ตั้งแต่ พ.ศ.2535-2563 ได้แก่ 3 ปัจจัยสำคญ คือ (1). บทบาททางการเมืองในรัฐธรรมนูญ (2).บทบาททางการเมืองในมิติด้านความมั่นคง และ(3).บทบาททางการมืองในภาคประชาชน ซึ่งได้เอื้ออำนวยให้กองทัพไทยปรับตัวเองได้อย่างกลมกลืนกับการรักษาบทบาททางการเมืองของตนเองต่อไปได้อย่างเข้มแข็ง ในทางตรงข้ามบทบาททางการเมืองของกองทัพอินโดนีเซีย ได้ถูกจำกัดบทบาทให้เหลือเพียงหน้าที่การรักษาอธิปไตยและความมั่นคงของชาติ โดยไม่หวนคืนกลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกต่อไป
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ