![]() |
ความมั่นคงของอาเซียนกับการจัดการความสัมพันธ์ประเทศภายนอก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เทอดศักดิ์ ไป่จันทึก |
Title | ความมั่นคงของอาเซียนกับการจัดการความสัมพันธ์ประเทศภายนอก |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2563 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 216-261 |
Keyword | อาเซียน, ความมั่นคง, เออาร์เอฟ |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print) |
Abstract | งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตุประสงค์ในการศึกษาพัฒนาการและวิธีการจัดการความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงของอาเซียนกับประเทศภายนอก โดยมีข้อเสนอว่าอาเซียนมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาในบริบทระหว่างประเทศทั้งในช่วงสงครามเย็นและหลังสงครามเย็น ใช้การวิจัยเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า การจัดการความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงของอาเซียนกับประเทศภายนอกช่วงสงครามเย็น แสดงให้เห็นถึงการที่อาเซียนพยายามใช้ยุทธศาสตร์ประกันความมั่นคง และการสร้างความเป็นศูนย์กลางในสถานการณ์ระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงของประเทศมหาอำนาจตลอดระยะเวลาของสงครามเย็น ทั้งนี้ เมื่อสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป อาเซียนได้ร่วมมือกับมหาอำนาจและนานาชาติตลอดจนองค์การระหว่างประเทศ เพื่อแสวงหาการสนับสนุนแก่กลุ่มตนมาโดยตลอด การปรับตัวของอาเซียนและการจัดการกับความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมในช่วง 3 ระยะเวลา คือ 1) การสถาปนาปฏิญญาว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง ในปี 1971 เพื่อปรับตัวจากความเปลี่ยนแปลงของนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ต่อสงครามเวียดนามในสมัยประธานธิบดีนิกสัน 2) การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1976 เพื่อ “รับมือ” กับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงในอินโดจีน และ 3) การเข้าเป็นศูนย์กลางในกระบวนการแก้ไขปัญหากัมพูชาในช่วงทศวรรษ 1980 โดยสามารถโน้มน้าวให้ทั้งสหรัฐฯ และจีน ให้ความร่วมมือกับตน ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็น อาเซียนพยายามใช้ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นแกนกลางผ่านสถาบันด้านความมั่นคงของตนเอง คือ การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อโน้มน้าวให้มหาอำนาจในภูมิภาคใช้อาเซียนเป็นศูนย์กลางในการเจราจา |