![]() |
การใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ประเทือง ม่วงอ่อน |
Title | การใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2563 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 111-143 |
Keyword | การใช้จ่ายในการเลือกตั้ง, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, อุบลราชธานี |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print) |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อให้เห็นมูลค่าของการใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดอุบลราชธานี ผลการตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ของผู้สมัคร ส.ส. จากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุบลราชธานี นำเสนอเฉพาะพรรคการเมืองสำคัญที่มีโอกาสชนะการเลือกตั้ง พบว่า จำนวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคเพื่อไทย รวมทั้งสิ้น 10,313,914.40 บาท เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคเพื่อไทย ต่อ 1 คน คิดเป็น 1,031,391.44 บาท จำนวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ รวมทั้งสิ้น 9,975,017.49 บาท เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ต่อ 1 คน คิดเป็น 997,501.75 บาท จำนวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งสิ้น 6,279,476 บาท เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ต่อ 1 คน คิดเป็น 627,948 บาท จำนวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ รวมทั้งสิ้น 7,076,256.45 บาท เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ ต่อ 1 คน คิดเป็น 707,625 บาท จำนวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคภูมิใจไทย รวมทั้งสิ้น 6,477,480.40 บาท เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคภูมิใจไทย ต่อ 1 คน คิดเป็น 647,748.04 บาท ข้อเสนอแนะ คือ การกำหนดค่าใช้จ่าย รูปแบบ วิธีการและทรัพยากรในการหาเสียงที่จำกัดเกินไป นอกจากนั้น รูปแบบและวิธีการรายงานในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีต้นทุนในการเดินทาง มีการใช้จ่ายที่ไม่เหมือนกัน |