ปัจจัยที่มีส่วนร่วมในการเสริมพลังการจัดทำแผนชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
รหัสดีโอไอ
Creator อาริยา ป้องศิริ
Title ปัจจัยที่มีส่วนร่วมในการเสริมพลังการจัดทำแผนชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2563
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 9
Journal No. 2
Page no. 302 - 324
Keyword แผนชุมชน, การมีส่วนรวม, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print)
Abstract การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมของตัวแสดงต่าง ๆ ในการเสริมพลังการจัดทำแผนชุมชนของกลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตำบลกุดหว้า ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับการวิจัยที่ผสมผสานการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ด้วยการสัมภาษณ์ เฉพาะบุคคลเพื่อค้นหาประเด็นที่ต้องการทราบ ร่วมกับการสนทนากลุ่ม เพื่อยืนยันประเด็นที่ค้นพบต่าง ๆ โดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีส่วนร่วมในการเสริมพลังการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนของกลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นั้นสามารถจำแนก ได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งเป็นความแตกต่างของบุคคล แต่สิ่งที่ทั้งสองแห่งเหมือนกัน คือ ผู้นำ เนื่องจากเอกลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมผู้ไทเป็นการให้ความเคารพและเชื่อฟังต่อผู้นำชุมชน และยิ่งหากเป็นพ่อล่าม-แม่ล่ามด้วยแล้ว ยิ่งจะให้ความเคารพนับถือย่างมาก และความแตกต่างด้านปัจจัยส่วนบุคคลของบ้านโคกโก่งที่ส่วนใหญ่คนในชุมชนเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งในการท่องเที่ยวนั้นลักษณะการดำเนินงานท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบโฮมสเตย์ ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่เนื่องจากบ้านโคกโก่งมีจำนวนคนจำกัด จึงต้องใช้เครือข่ายของผู้นำที่มีอยู่ เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ส่วนบ้านกุดหว้านั้น จะพบว่าคนที่ดำเนินการด้านการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนวัยทำงาน และผู้สูงอายุที่ไม่ได้แก่มากนัก ซึ่งจะเป็นศักยภาพสำคัญในการขับเคลื่อนด้านการท่องเที่ยว โดยที่คนกลุ่มนี้ต้องการให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับฟังความคิดเห็น และร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสมในด้านการท่องเที่ยว ปัจจัยต่อมาคือ ปัจจัยเกี่ยวกับองค์กร โดยองค์การที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมจะต้องมีการสร้างความคุ้นเคยแก่ชาวบ้าน เพื่อลดปัญหาการต่อต้าน และรูปแบบกิจกรรมต้องเหมาะสมกับบริบทของชุมชน รวมถึงหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องต้องมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ และความตั้งใจจริงในการพัฒนาชุมชนด้านการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ